รูปแบบการจัดกิจกรรมยุวกาชาดที่ส่งเสริมทักษะชีวิต ผ่านการเรียนรู้
ด้วยเทคนิคปฏิบัติในชุดกิจกรรม กลุ่มกิจกรรมพิเศษ ยุวกาชาดระดับ 3
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ผู้วิจัย นางพิศมัย เวียงนนท์
พุทธศักราช 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องรูปแบบการจัดกิจกรรมยุวกาชาดที่ส่งเสริมทักษะชีวิตผ่านการเรียนรู้ด้วยเทคนิคปฏิบัติในชุดกิจกรรม กลุ่มกิจกรรมพิเศษ ยุวกาชาดระดับ 3 เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ประกอบด้วย ชั้นตอน 4 ขั้นตอน คือ 1) การวิจัย (Research) เป็นการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมยุวกาชาดที่ส่งเสริมทักษะชีวิตผ่านการเรียนรู้ด้วยเทคนิคปฏิบัติในชุดกิจกรรม กลุ่มกิจกรรมพิเศษ ยุวกาชาดระดับ 3 2) การพัฒนา (Development) เป็นการพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมยุวกาชาดที่ส่งเสริมทักษะชีวิตผ่านการเรียนรู้ด้วยเทคนิคปฏิบัติในชุดกิจกรรม กลุ่มกิจกรรมพิเศษ ยุวกาชาดระดับ 3 3) การวิจัย (Research) เป็นการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมยุวกาชาดที่ส่งเสริมทักษะชีวิตผ่านการเรียนรู้ด้วยเทคนิคปฏิบัติในชุดกิจกรรม กลุ่มกิจกรรมพิเศษ ยุวกาชาดระดับ 3 4) การพัฒนา (Development) เป็นการประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดกิจกรรมยุวกาชาดที่ส่งเสริมทักษะชีวิตผ่านการเรียนรู้ด้วยเทคนิคปฏิบัติในชุดกิจกรรม กลุ่มกิจกรรมพิเศษ ยุวกาชาดระดับ 3 โดยมีวัตถุประสงค์ 1) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมยุวกาชาดที่ส่งเสริมทักษะชีวิตผ่านการเรียนรู้ด้วยเทคนิคปฏิบัติในชุดกิจกรรม กลุ่มกิจกรรมพิเศษ ยุวกาชาดระดับ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมยุวกาชาดที่ส่งเสริมทักษะชีวิตผ่านการเรียนรู้ด้วยเทคนิคปฏิบัติในชุดกิจกรรม กลุ่มกิจกรรมพิเศษ ยุวกาชาดระดับ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมยุวกาชาดที่ส่งเสริมทักษะชีวิตผ่านการเรียนรู้ด้วยเทคนิคปฏิบัติในชุดกิจกรรม กลุ่มกิจกรรมพิเศษ ยุวกาชาดระดับ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการจัดกิจกรรมยุวกาชาดที่ส่งเสริมทักษะชีวิตผ่านการเรียนรู้แบบเน้นการปฏิบัติในชุดกิจกรรม กลุ่มกิจกรรมพิเศษยุวกาชาดระดับ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดกิจกรรมยุวกาชาดที่ส่งเสริมทักษะชีวิตผ่านการเรียนรู้ด้วยเทคนิคปฏิบัติในชุดกิจกรรม กลุ่มกิจกรรมพิเศษ ยุวกาชาดระดับ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ยุวกาชาด ระดับ 3 โรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม จำนวน 146 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ยุวกาชาดระดับ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนกุดเสลาวิทยาคม จำนวน 43 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบถามความคิดเห็นในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมยุวกาชาดที่ส่งเสริมทักษะชีวิตผ่านการเรียนรู้ด้วยเทคนิคปฏิบัติในชุดกิจกรรม กลุ่มกิจกรรมพิเศษ ยุวกาชาดระดับ 3 สำหรับยุวกาชาด 2) แบบสอบถามความคิดเห็น สำหรับครูผู้สอนยุวกาชาด 3) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านรูปแบบการจัดกิจกรรมยุวกาชาดที่ส่งเสริมทักษะชีวิตผ่านการเรียนรู้ด้วยเทคนิคปฏิบัติในชุดกิจกรรม กลุ่มกิจกรรมพิเศษ ยุวกาชาดระดับ 3 4) รูปแบบการจัดกิจกรรมยุวกาชาดที่ส่งเสริมทักษะชีวิตผ่านการเรียนรู้ด้วยเทคนิคปฏิบัติในชุดกิจกรรม กลุ่มกิจกรรมพิเศษ ยุวกาชาดระดับ 3 5) แบบทดสอบความรู้ทั่วไปก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยซึ่งมีค่าความยากง่าย ระหว่าง 0.20 - 0.80 และมีค่าอำนาจจำแนก 0.20 ขึ้นไปแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของยุวกาชาดหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมยุวกาชาดที่ส่งเสริมทักษะชีวิตผ่านการเรียนรู้ด้วยเทคนิคปฏิบัติในชุดกิจกรรม กลุ่มกิจกรรมพิเศษ ยุวกาชาดระดับ 3 แบบแผนการวิจัยแบบเชิงการทดลองพื้นฐาน (Pre Experimental Designs)แบบ One Group Pretest - Posttest Designs วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) แล้วนำเสนอแบบพรรณนาความ
สรุปผลการวิจัย
จากการดำเนินการตามขั้นตอนการวิจัยที่ได้นำเสนอแล้วนั้น ปรากฏผลการวิจัย ดังนี้
ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมยุวกาชาดที่ส่งเสริมทักษะชีวิตผ่านการเรียนรู้ด้วยเทคนิคปฏิบัติในชุดกิจกรรม กลุ่มกิจกรรมพิเศษ ยุวกาชาดระดับ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาข้อมูล ซึ่งได้แก่ ยุวกาชาดระดับ 3 ครูผู้สอนยุวกาชาด ผู้บริหาร และผู้เชี่ยวชาญ พบว่าต้องการให้พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมยุวกาชาดที่ส่งเสริมทักษะชีวิตผ่านการเรียนรู้ด้วยเทคนิคปฏิบัติในชุดกิจกรรม กลุ่มกิจกรรมพิเศษ ยุวกาชาดระดับ 3 โดยต้องจัดให้ยุวกาชาดได้รับความรู้ทั่วไป ได้ฝึกปฏิบัติและลงมือทำ ตามความเหมาะสม มีภาพประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของยุวกาชาด ภาพลายเส้นที่แสดงออกถึงความรู้นั้น ๆ ที่สามารถศึกษาแล้วนำไปปฏิบัติได้ เป็นรูปแบบที่อ่านง่าย เข้าใจ สนุกกับการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอนให้เป็นระบบรวมถึงเนื้อหาองค์ความรู้ ต่าง ๆ เป็นไปในทิศทางเดียวกันรูปแบบการจัดกิจกรรมยุวกาชาดที่ส่งเสริมทักษะชีวิตผ่านการเรียนรู้ด้วยเทคนิคปฏิบัติประกอบชุดกิจกรรม กลุ่มกิจกรรมพิเศษ ยุวกาชาดระดับ 3 จะต้องมีประสิทธิภาพ สามารถทำให้ยุวกาชาดเรียนรู้บนพื้นฐานของการพึ่งตนเองและช่วยเหลือผู้อื่นได้จากการปฏิบัติจริงในกิจกรรมที่กำหนดนอกจากนั้น การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมยุวกาชาดที่ส่งเสริมทักษะชีวิตผ่านการเรียนรู้ด้วยเทคนิคปฏิบัติประกอบชุดกิจกรรม กลุ่มกิจกรรมพิเศษ ยุวกาชาดระดับ 3 ควรคำนึงถึงพัฒนาการของยุวกาชาดให้ครบทุกด้าน ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญาและสังคมการวัดผลประเมินผลนั้นต้องกำหนดแนวทาง วิธีการ และเกณฑ์ในการวัดที่สามารถวัดได้ครอบคลุม เวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 จึงจะได้รับการประเมินเป็น “ผ่าน” การประเมินผลการพัฒนาและ หาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมยุวกาชาดที่ส่งเสริมทักษะชีวิตผ่านการเรียนรู้ด้วยเทคนิคปฏิบัติในชุดกิจกรรม กลุ่มกิจกรรมพิเศษ ยุวกาชาดระดับ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า รูปแบบการจัดกิจกรรมยุวกาชาดกลุ่มกิจกรรมพิเศษ ที่สร้างขึ้นมีทั้งหมด 7 เล่ม คือ เล่มที่ 1 กิจกรรมนักโภชนาการ เล่มที่ 2 กิจกรรมสมุนไพรไทย เล่มที่ 3 กิจกรรมงานผ้า เล่มที่ 4 กิจกรรมนักปฐมพยาบาล 2 เล่มที่ 5 กิจกรรมปลอดภัยวัยรุ่น เล่มที่ 6 กิจกรรมการผจญภัย และเล่มที่ 7 กิจกรรมงานประดิษฐ์ ในแต่ละเล่มมีองค์ประกอบคือ 1) คำนำ 2) คำชี้แจงเกี่ยวกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) บทบาทครู 4) บทบาทสมาชิกยุวกาชาด 5) ขั้นตอนการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ 6) สาระสำคัญ สาระการเรียนรู้ และจุดประสงค์การเรียนรู้ 7) แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน 8) ใบความรู้ 9) แบบปฏิบัติกิจกรรม 10) แบบประเมิน และ 11) แบบสรุปผลการปฏิบัติกิจกรรมวัตถุประสงค์ รูปแบบการจัดกิจกรรมยุวกาชาดที่ส่งเสริมทักษะชีวิตผ่านการเรียนรู้ด้วยเทคนิคปฏิบัติในชุดกิจกรรม กลุ่มกิจกรรมพิเศษ ยุวกาชาดระดับ 3 ที่สร้างขึ้นได้นำไปทดลองใช้เพื่อหาค่าประสิทธิภาพแบบรายบุคคล (Individual Tryout) ได้ค่าประสิทธิภาพ 82.17/83.33 หาประสิทธิภาพของชุดการจัดกิจกรรมแบบ กลุ่มเล็ก (Small Group Tryout) ได้ค่าประสิทธิภาพ 83.01/85.00 และหาประสิทธิภาพแบบสนาม (Field Tryout) ได้ค่าประสิทธิภาพ 84.65/86.98
ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมยุวกาชาดที่ส่งเสริมทักษะชีวิตผ่านการเรียนรู้ด้วยเทคนิคปฏิบัติในชุดกิจกรรม กลุ่มกิจกรรมพิเศษ ยุวกาชาดระดับ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ยุวกาชาดสามารถปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเองอย่างครบวงจร และก่อนปฏิบัติกิจกรรมเป็นพิธีเปิดกิจกรรมยุวกาชาด ซึ่งประกอบด้วยการเชิญธงชาติ สวดมนต์ สงบนิ่ง ตรวจ แยกเรียน เล่นเกมหรือเพลง ทำให้เกิดความสนุกสนานเป็น การอบอุ่นร่างกายก่อนปฏิบัติกิจกรรม แล้วจึงแยกย้ายกันเข้าเรียนตามฐาน เป็นระบบกลุ่ม หลังจากหมดชั่วโมงแล้วยุวกาชาดทุกคนเข้าร่วมพิธีปิดกิจกรรม นัดหมาย ตรวจ เชิญธงลง ขณะใช้ชุดในแต่ละครั้งจะมีปัญหาด้านเวลาไม่ค่อยเพียงพอต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้ยุวกาชาดมักจะหาเวลามาอ่านทบทวนความรู้จากชุดกิจกรรมอีกครั้งเสมอ และความสำเร็จของกิจกรรมนี้คือการตอบสนองต่อความต้องการของยุวกาชาดได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ได้รับความสนุกและ มีความสุขที่ได้ลงมือปฏิบัติ อันเป็นการส่งเสริมทักษะชีวิตของยุวกาชาด
ผลการประเมินและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดกิจกรรมยุวกาชาดที่ส่งเสริมทักษะชีวิตผ่านการเรียนรู้ด้วยเทคนิคปฏิบัติในชุดกิจกรรม กลุ่มกิจกรรมพิเศษ ยุวกาชาดระดับ 3 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า คะแนนเฉลี่ยของผลการเรียนรู้ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับยุวกาชาดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมยุวกาชาดที่ส่งเสริมทักษะชีวิตผ่านการเรียนรู้ด้วยเทคนิคปฏิบัติในชุดกิจกรรม กลุ่มกิจกรรมพิเศษ ยุวกาชาดระดับ 3 สูงกว่าก่อนเรียน ส่วนผลการประเมินความพึงพอใจของยุวกาชาด หลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดกิจกรรมยุวกาชาดที่ส่งเสริมทักษะชีวิตผ่านการเรียนรู้ด้วยเทคนิคปฏิบัติในชุดกิจกรรม กลุ่มกิจกรรมพิเศษ ยุวกาชาดระดับ 3 นั้นพบว่า กิจกรรมที่นำมาใช้มีความเหมาะสม ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ได้จริงอยู่ในลำดับที่ 1 (X-bar = 4.65, S.D. = 0.48) ลำดับที่ 2 ยุวกาชาดเป็นผู้ค้นพบคำตอบหรือทำกิจกรรมสำเร็จด้วยตนเองหรือกลุ่ม (X-bar = 4.63, S.D. = 0.48) และลำดับที่ 3 เมื่อทำแบบทดสอบหลังเรียนผู้เรียนมีความพอใจต่อคะแนนที่ตนเองทำได้ (X-bar = 4.63, S.D. = 0.48)