เผยแพร่ผลงานวิชาการ
ผู้วิจัย ชื่นกมล เลิศไกร
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลวัดท่าโพธิ์ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าโพธิ์ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 2) พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) ทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 4) ประเมินรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาลวัดท่าโพธิ์ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ที่กาลังเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จานวน 31 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยการจับฉลาก 1 ห้องเรียนจากนักเรียนทั้งหมด 3 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบวิเคราะห์เอกสาร รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบการคิดวิเคราะห์ และ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบทีแบบไม่อิสระและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในความต้องการรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ ที่นักเรียนต้องการ พบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ต้องการใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ
เพราะนักเรียนต้องการรักษาทรัพยากรธรรมชาติให้คงอยู่ และใช้ได้นาน และต้องการบรรยากาศในการเรียนที่สนุกสนาน
2. ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผู้วิจัยใช้ชื่อเรียกว่า “MIGPAE Model” มีองค์ประกอบคือใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอน 6 ขั้นตอนได้แก่ 1) ขั้นสร้างแรงจูงใจ (Motivation) 2) ขั้นสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry) 3) ขั้นทากิจกรรมกลุ่ม (Group activities) 4) ขั้นนาเสนอผลงาน (Presentation) 5) ขั้นวิเคราะห์ (Analysis) และ 6) ขั้นประเมินผล (Evaluation) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้ค่าประสิทธิภาพ E1 / E2 จากการทดลองภาคสนามประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 84.40/82.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กาหนดไว้
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กับกลุ่มตัวอย่างจานวน 31 คนได้ค่าประสิทธิภาพ E1 / E2 เท่ากับ 84.54/83.76 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้ คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการประเมินรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่าทุกข้อมีผลการประเมินในระดับดี นักเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ทรัพยากรธรรมชาติ สาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด