LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถ
ในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย    สายใจ แก้วอ่อน
ชื่อหน่วยงาน    โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ปีที่วิจัย     2560

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ( Research and Development ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ดำเนินการโดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ซึ่งแบ่งเป็น 4 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ ศึกษาวิเคราะห์นโยบายพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แนวคิด ทฤษฎี หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ความต้องการในการพัฒนารูปแบบการสอนของผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์ ครูผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนวิทยาศาสตร์ และผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบประเมินความพึงพอใจ โดยนำไปตรวจสอบความเหมาะสมกับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยนำแผนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ ไปทำการศึกษานำร่องแบบภาคสนาม ได้ค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เท่ากับ 83.50/83.22 นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษานำร่องมาปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการจัดการเรียนรู้ และเครื่องมือประกอบการจัดการเรียนรู้ ไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบ แล้วนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้รูปแบบการจัดการเรียนรู้และเครื่องมือประกอบการจัดการเรียนรู้มีความสมบูรณ์ก่อนนำไปใช้จริง ขั้นตอนที่ 3 นำรูปแบบการจัดการเรียนรู้ไปใช้ โดยใช้แบบแผนการทดลอง (One-Group Pretest-Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสาธิตเทศบาลวัดเพชรจริก อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช 1 ห้องเรียน จำนวน 34 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เป็นนักเรียนที่คละความสามารถอยู่ในห้องเดียวกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เวลาที่ใช้ในการจัดกิจกรรมจำนวน 26 ชั่วโมง โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 12 แผน ปรากฏว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 84.17/83.63 และขั้นตอนที่ 4 ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) แบบไม่อิสระ (Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
    ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
        จากรายงานการวิจัย เรื่องการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สรุปได้ว่า
        1. ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่าข้อมูลสำหรับการร่างรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ( PASOAP Model) ได้มาจากการศึกษาวิเคราะห์นโยบายพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ แนวคิด ทฤษฎี หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ด้านความต้องการของครูพบว่า ครูมีความสามารถในการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์อยู่ในระดับปานกลาง ยังไม่เป็นที่น่าพอใจ ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบวิธีสอนหรือนวัตกรรมการเรียนการสอน ขาดทักษะ เทคนิค ที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
        2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีองค์ประกอบสำคัญได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบ ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนรู้ตามรูปแบบ และ การประเมินผลรูปแบบ ดำเนินการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบที่มีชื่อว่า “PASOAP Model” ประกอบด้วยกระบวนการ 6 ขั้นคือ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม (Preparation : P) 2) ขั้นเรียนรู้อย่างกระตือรือร้น (Active Learning : A) 3) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Socailization : S) 4) ขั้นจัดระเบียบความรู้สู่การคิดวิเคราะห์ (Organizing knowledge to analytical thinking : O) 5) ขั้นประยุกต์ใช้ ขยายกระบวนการคิด (Applying enlarged thinking process : A) 6) ขั้นนำเสนอและประเมินผลงาน (Presentation and Evaluation : P) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ พบว่ารูปแบบการจัดการเรียนรู้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.21, S.D.= 0.55 ) และแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ประกอบรูปแบบมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( = 4.57, S.D.= 0.56)
    3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
     4. ผลการประเมินความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.79 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.09


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^