การพัฒนาบทเพลงประกอบภาพ
ชื่อผู้วิจัย นางศศิรินทร์ ธารพระจันทร์ โรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง สำนักการศึกษา
เทศบาลนครนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีที่ดำเนินการ 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและหาประสิทธิภาพของบทเพลงประกอบภาพ ชุดเศรษฐศาสตร์น่ารู้พออยู่พอกิน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ ตามเกณฑ์80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยใช้บทเพลงประกอบภาพ ชุดเศรษฐศาสตร์น่ารู้พออยู่พอกิน ก่อนเรียนและหลังเรียน (3) ศึกษาความคงทนในการเรียนรู้ ชุดเศรษฐศาสตร์น่ารู้พออยู่พอกิน โดยใช้บทเพลงประกอบภาพ และ (4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเพลงประกอบภาพ ชุด เศรษฐศาสตร์น่ารู้พออยู่พอกิน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม และจัดกิจกรรมโดยใช้บทเพลงประกอบภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย (1) ชุดกิจกรรมประกอบบทเพลง ซึ่งมีเพลงทั้งหมด 10 เพลง คือ เล่มที่ 1เรื่อง คุณค่าของคนพอเพียง มี 5 เพลง เล่มที่ 2 เรื่องรักพ่อรักษ์ป่ารักษ์น้ำ มี 5 เพลง โดยใช้ทำนองเพลงลูกทุ่งสนุกสนานซึ่งผู้วิจัยแต่งเองทั้งหมด (2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 แผน รวม 13 ชั่วโมง (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ ผ่านการวิเคราะห์หาค่าความยากง่ายค่าอำนาจจำแนก และความเชื่อมั่นจนมีประสิทธิภาพนำไปทดลองใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง เก็บรวบรวมคะแนนจากแบบทดสอบย่อยและแบบทดสอบหลังเรียน จำนวน 10 ชุด หลังจากทดลองแล้ว ให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน เก็บรวบรวมคะแนนและเมื่อเรียนจบผ่านไปแล้ว 3 เดือนให้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอีกครั้ง เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ความคงทนในการเรียนรู้และสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนแล้วนำผลไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ( ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ค่าร้อยละและค่าที (t – test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของบทเพลงประกอบภาพ ชุด เศรษฐศาสตร์น่ารู้พออยู่พอกิน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากการทดลองภาคสนามมีประสิทธิภาพโดยรวม เท่ากับ 85.43/ 85.87 และนักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีประสิทธิภาพโดยรวม เท่ากับ 85.75/ 86.53ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยบทเพลงประกอบภาพ ชุดเศรษฐศาสตร์น่ารู้พออยู่พอกิน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความคงทนในการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทเพลงประกอบภาพ ชุด เศรษฐศาสตร์น่ารู้พออยู่พอกิน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากเรียนจบแล้ว 3 เดือน มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 37.55 คิดเป็นร้อยละ 75.10 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือร้อยละ 70
4. ผลการศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเพลงประกอบภาพ ชุด เศรษฐศาสตร์น่ารู้พออยู่พอกิน เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โดยรวมมีความพึงพอใจระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.55