ผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด
ผู้ศึกษา นางรสริน อินทรักษา
ปีที่ศึกษา 2559
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ตามวิธี STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ตามวิธี STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ตามวิธี STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา เป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/1 โรงเรียนเทศบาลเมืองท่าบ่อ (ท.1) กองการศึกษา เทศบาลเมืองท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 32 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกดจำนวน 8 เล่ม 2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 8 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ (Multiple Choice) 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ตามวิธี STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating) 3 ระดับ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการศึกษา ปรากฏดังนี้
1. การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ตามวิธี STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.28/83.02 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือตามวิธี STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 41.88 และ หลังเรียน คิดเป็นร้อยละ 83.02 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ ตามวิธี STAD กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 2.55 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.15 อยู่ในระดับมาก พิจารณารายด้านทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 2.52 - 2.56 อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายข้อ มีค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 2.28 - 2.75 อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก