การพัฒนาชุดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา รายวิชา สังคมศึกษา
และมารยาทชาวพุทธ กับเรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
โดย : เพ็ญนภา ชูรัตน์
ปีการศึกษา : 2560
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาชุดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา รายวิชา สังคมศึกษา เรื่องหน้าที่และมารยาทชาวพุทธ กับเรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยชุดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา รายวิชา สังคมศึกษา เรื่องหน้าที่และมารยาทชาวพุทธ กับเรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยชุดการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง ซึ่งดำเนินการทดลองแบบ One – Group Pretest – Posttest ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศีขรภูมิพิสัย อำเภอศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 306 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศีขรภูมิพิสัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ห้องเรียนที่ 3 จำนวน 36 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) จากห้องที่ได้รับมอบหมายให้จัดการเรียนการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา จำนวน 8 ชุดแบบทดสอบย่อยระหว่างเรียน ประจำชุดการเรียนรู้ รวมจำนวน 40 ข้อ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยชุดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา จำนวน 12 ข้อ สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานใช้ t-test (Dependent Samples) หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ
ผลการวิจัยพบว่า ชุดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา รายวิชา สังคมศึกษา เรื่องหน้าที่และมารยาทชาวพุทธ กับเรื่องวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาและศาสนพิธี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 85.21 / 82.51 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนโดยชุดการเรียนรู้ตามหลักไตรสิกขา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนกลุ่มตัวอย่างโดยภาพรวมมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยชุดการเรียนรู้ตามหลัก ในระดับ มาก ( x-bar = 4.25, S.D. = 0.69)