ผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียน เรื่องมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการ
ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดโดยใช้สมอง
เป็นฐาน (Brain based learning : BBL)
ผู้ศึกษา นายบุญสม ช้างแก้ว
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาคุณภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการเขียนเรื่องมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการเขียน เรื่องมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียน เรื่องมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาลพิบูลสวัสดี สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครภูเก็ต ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 92 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/1 โรงเรียนเทศบาลพิบูลสวัสดี สังกัดสำนักการศึกษา เทศบาลนครภูเก็ต ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 29 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย แบบฝึกเสริมทักษะการเขียน เรื่องมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 8 เรื่อง แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประกอบการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียน เรื่องมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยการจัดการเรียนรู้ ตามแนวคิดโดยใช้สมองเป็นฐาน (Brain based learning : BBL) จำนวน 18 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ชนิดเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ ซึ่งได้แบบทดสอบที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.87 แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 20 ข้อ ซึ่งได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบวัดความพึงพอใจทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการและผลลัพธ์ (E1/E2) เท่ากับ 86.93/85.20 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05
3. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง มาตราตัวสะกด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด