รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฏีของแฮร์บาร์ต (Herbart Method)
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านจะบังติกอ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฏีของแฮร์บาร์ต (Herbart Method) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านจะบังติกอ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้
โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฏีของแฮร์บาร์ต (Herbart Method) เพื่อส่งเสริมความ สามารถในการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านจะบังติกอ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านจะบังติกอ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียนทั้งหมด 23 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยมีห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่มด้วยการจับฉลาก จำนวน 1 ห้องเรียนจากห้องเรียนทั้งหมด 2 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย รูปแบบการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฏีของแฮร์บาร์ต (Herbart Method) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านจะบังติกอ ประกอบไปด้วยขั้นตอนการจัดการเรียนรู้
5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นเตรียมการ ขั้นที่ 2 ขั้นเสนอ ขั้นที่ 3 ขั้นความสัมพันธ์ความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ ขั้นที่ 4 ขั้นสรุป ขั้นที่ 5 ขั้นประยุกต์ใช้ มีประสิทธิภาพ E1/ E2 เท่ากับ 87.67/89.02 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฏีของแฮร์บาร์ต (Herbart Method) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านจะบังติกอ นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ15.77
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฏีของแฮร์บาร์ต (Herbart Method) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล ๑ บ้านจะบังติกอ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X-bar= 4.71 S.D = 0.59)