การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อส่งเสริมฯ
ในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นางสาวฉัตรธิภรณ์ ศิริวัฒน์
โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) เทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 2560
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอน ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการสอน แหล่งข้อมูล คือ เอกสาร ผู้ให้ข้อมูลมี 2 ส่วน คือ ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยระดับชั้นมัธยมศึกษา จำนวน 7 คน ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และนักวิชาการ จำนวน 2 คน ปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 2 คน พระสงฆ์ จำนวน 1 รูป เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสอบถามสภาพการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย และแบบสอบถามแนวทางจัดการเรียนการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อส่งเสริมความสามารถ
ในการคิดวิเคราะห์ ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการสอน แหล่งข้อมูล คือ เอกสาร และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกร่างรูปแบบการสอน แบบประเมินรูปแบบการสอน สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 3 การทดลอง ใช้รูปแบบการสอน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนเทศบาล 1 (บูรพาวิทยากร) สำนักการศึกษาเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 48 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 9 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และ 3) แบบวัดความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test และขั้นตอนที่ 4 การพัฒนาและปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการสอน แหล่งข้อมูล คือ เอกสาร ผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการ ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รูปแบบการสอนที่ได้เรียกว่า ITBAS Model มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการของรูปแบบการสอน 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบการสอน
3) กระบวนการเรียนการสอน มี 5 ขั้น คือ 1) นำข้อมูลเข้าสู่ระบบการคิด (Insert data : I)
2) แสดงความคิดต่อข้อมูล (Think : T) 3) ขั้นระดมสมอง (Brain stroming : B) 4) ขั้นคิดวิเคราะห์ (Analysis : A) และ 5) ขั้นสรุปและประเมินผล (Summarize and Evaluation : S) และ 4) ผลที่ผู้เรียนจะได้รับจากการเรียนตามรูปแบบการสอน ประสิทธิภาพของแผนการจัด
การเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ITBAS Model) มีค่าเท่ากับ 81.54/81.18 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลการใช้รูปแบบการสอน
2.1 นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ITBAS Model)
มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการสอนโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชน
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (ITBAS Model) โดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72)