LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

รูปแบบการพัฒนางานวิชาการ ของโรงเรียนเทศบาล 2

usericon

รูปแบบการพัฒนางานวิชาการ
ของ โรงเรียนเทศบาล 2 สังกัดเทศบาลเมืองตะพานหิน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร
                    นายจักรกฤษณ์ นนทโคตร/ผู้วิจัย/2560

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาปัญหาการพัฒนาและนำเสนอรูปแบบการพัฒนา งานวิชาการของโรงเรียนเทศบาล 2 สังกัดเทศบาลเมืองตะพานหิน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร การดำเนินการวิจัยมี 4 ขั้นตอน คือ
    1) ศึกษาปัญหาการพัฒนางานวิชาการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารสถานศึกษาจำนวน 2 คน ครูจำนวน 35 คน ผู้ปกครอง จำนวน 75 คน รวมจำนวน 112 คน ซึ่งได้โดยการเลือกแบบเจาะจง จำแนกระดับชั้นในการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (Rating scale) ซึ่งมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation)
    2) นำเสนอรูปแบบการพัฒนางานวิชาการ โดยการสังเคราะห์ความคิดเห็นการประเมินแนวทางจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 30 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการสังเคราะห์เนื้อหา
    3) ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนางานวิชาการ ของโรงเรียนเทศบาล 2 สังกัดเทศบาลเมืองตะพานหิน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร โดยทดลองใช้กับประชากรนักเรียน โรงเรียนเทศบาล 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 550 คน
    4) ประเมินรูปแบบการพัฒนางานวิชาการ ของโรงเรียนเทศบาล 2 สังกัดเทศบาลเมืองตะพานหิน อำเภอตะพานหิน จังหวัดพิจิตร โดยการประเมินความพึงพอใจจาก ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้ดำเนินการใช้รูปแบบการพัฒนา จำนวน 37 คน
    ผลการวิจัยพบว่า
    1) ปัญหาการการพัฒนางานวิชาการ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการวัดประเมินผล ด้านการนิเทศภายใน และด้านการวิจัยในชั้นเรียน ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีปัญหาการพัฒนางานมากอันดับ 1 คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร อันดับ 2 คือ ด้านการวัดประเมินผล และอันดับ 3 คือ ด้านการวิจัยในชั้นเรียน
    2) รูปแบบการพัฒนางานวิชาการ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียน ด้านการวัดประเมินผล ด้านการนิเทศภายใน และด้านการวิจัยในชั้นเรียน ต้องกำหนดเป้าหมายการดำเนินงานที่ชัดเจน เป็นระบบ ดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยความร่วมมือของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย มีรูปแบบการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน คือ 1.ขั้นสร้างความตระหนัก 2 ขั้นสร้างเครือข่ายทางวิชาการ 3. ขั้นพัฒนางาน และ 4.ข้นประเมินงาน กำกับติดตามอย่างสม่ำเสมอ สรุปประเมินผล และนำผลการประเมินมาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
    3) การทดลองใช้รูปแบบการพัฒนางานวิชาการ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านวัดประเมินผล ด้านนิเทศภายใน และด้านวิจัยในชั้นเรียน โดยมีการดำเนินการ 4 ขั้นตอน ขั้นที่ 1 ขั้นสร้างความตระหนัก ผู้บริหาร ครู วางแผนกำหนดเป้าหมายเกี่ยวกับการพัฒนางานวิชาการร่วมกับครูผู้สอนและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดของสถานศึกษา ขั้นที่ 2 ขั้นสร้างเครือข่างทางวิชาการ จัดอบรมครู เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในด้านการพัฒนางานวิชาการ ขั้นที่ 3 ขั้นพัฒนางาน ครูผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามสภาพปัญหา ครูผู้สอนกำหนดรูปแบบ ในการวัดประเมินผลที่ชัดเจน ขั้นที่ 4 ขั้นประเมินงาน ครูรายงานผลงานทางวิชาการเป็นระยะเวลาอย่างต่อเนื่อง และนำผลการพัฒนามาแก้ไขข้อบกพร่องของการจัดการเรียนรู้สู่ผู้เรียนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
    4) การประเมินรูปแบบการพัฒนางานวิชาการ มีผลประเมินอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณา รายด้านพบว่า ด้านที่มีผลประเมินสูงสุดอันดับ 1 คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ อันดับ 2 คือ ด้านงานวิจัยในชั้นเรียน อันดับ 3 คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร อันดับ 4 คือ ด้านการวัดประเมินผล อันดับ 5 คือ ด้านการนิเทศภายใน




ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^