LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนปทุมมาศวิทยา อ่านต่อได้

usericon

การประเมินเรื่อง     : การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนปทุมมาศวิทยา
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2
ผู้ประเมิน         : วรรณิภา แป้นทอง
ปีที่รายงาน         : 2560

บทสรุป
        
    การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนปทุมมาศวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทของโครงการ ประเมินปัจจัยของโครงการ ประเมินกระบวนการดำเนินโครงการ และประเมินผลผลิตของโครงการ ในด้านการปฏิบัติกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง ความพึงพอใจต่อโครงการของนักเรียน ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และกรรมการสถานศึกษา การประเมินใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีจำนวน 174 คน ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ สถิติที่ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการประเมินและข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้

ผลการประเมิน
    ผลการประเมินพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินตัวชี้วัดทุกตัวชี้วัด ประเด็นการประเมินทุกประเด็น และภาพรวมของโครงการดังนี้
    1. การประเมินบริบท (Context Evaluation) ประเมินเกี่ยวกับความเหมาะสมความ
ชัดเจนความสอดคล้องของวัตถุประสงค์และเป้าหมายกับกิจกรรม ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนปทุมมาศวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 โดย ผู้อำนวยการโรงเรียนและกรรมการสถานศึกษาเห็นว่าวัตถุประสงค์ มีความสอดคล้องหรือความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
    เมื่อพิจารณารายด้าน ผู้อำนวยการโรงเรียน และกรรมการสถานศึกษา มีความคิดเห็นว่า วัตถุประสงค์มีความเป็นไปได้ในการดำเนินการ ชัดเจนจำเพาะเจาะจง และสามารถวัดและประเมินได้ มีความสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชนมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.62 และ 4.57 ตามลำดับ รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ มีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน และวัตถุประสงค์มีความสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการ มีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.38 และ 4.24 ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
     2. การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สถานที่ดำเนินโครงการและ กิจกรรมต่างๆ ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนปทุมมาศวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 2 ตามความคิดเห็นของ ผู้อำนวยการและครูผู้สอน โดยภาพรวมเห็นว่า ปัจจัยนำเข้า มีความสอดคล้องหรือความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
    เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านบุคลากร งบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.54 ส่วนด้านสถานที่ดำเนินโครงการและกิจกรรมที่ดำเนินการ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.41 และ 4.27 ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
    3. การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ประเมินเกี่ยวกับประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินโครงการ ได้แก่ การเตรียมการ การดำเนินการปฏิบัติกิจกรรม การประเมินผลและการสรุปรายงานผล ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนปทุมมาศวิทยา ตามความคิดเห็นของ ครูผู้สอนโดยภาพรวมเห็นว่า กระบวนการตามประสิทธิภาพของการดำเนินโครงการ มีความสอดคล้องหรือมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
    เมื่อพิจารณารายด้านของประสิทธิภาพการดำเนินโครงการ ด้านการเตรียมการ ครูผู้สอนมีความเห็นว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.62 ส่วนการดำเนินการปฏิบัติกิจกรรม การสรุปรายงานผล และการประเมินผล ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน เห็นว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30, 4.29 และ 4.22 ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน
    4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) คือความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติกิจกรรม ความพึงพอใจของนักเรียน ความพึงพอใจของครูผู้สอน ผู้อำนวยการโรงเรียน และกรรมการสถานศึกษาที่มีต่อโครงการ มีผลการประเมินดังนี้
        4.1 ความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติกิจกรรม ตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน เกี่ยวกับกิจกรรมการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ กิจกรรมการเพาะเห็ด กิจกรรมการเลี้ยงปลา กิจกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ และกิจกรรมสร้างงานสร้างอาชีพ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนโดยภาพรวมเห็นว่า กระบวนการดำเนินการปฏิบัติตามกิจกรรมของโครงการ มีความสอดคล้องหรือมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
    เมื่อพิจารณารายกิจกรรม พบว่า กิจกรรมเลี้ยงไก่ไข่ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.42 รองลงมา คือ กิจกรรมสร้างงานสร้างอาชีพและกิจกรรมพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ และกิจกรรมการเพาะเห็ด มีค่าเฉลี่ย 4.39 , 4.38 และ 4.36 ตามลำดับ ส่วนกิจกรรมเลี้ยงปลา ครูผู้สอนมีความเห็นว่า มีความเหมาะสมน้อยสุด มีค่าเฉลี่ย 4.35 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน
        4.2 ความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ นักเรียนมีทักษะจากการปฏิบัติงานเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน โครงการเศรษฐกิจพอเพียงน่าสนใจและเรียนได้อย่างสนุกสนาน ปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการอย่างมีความสุข ได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงและได้เรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่ม นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ส่วนหัวข้อ โครงการนี้สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ ได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าอย่างเพียงพอและถูกหลักโภชนาการ ได้นำความรู้จากสิ่งที่เรียนไปใช้ในชีวิตประจำวัน และมีภาวะโภชนาการที่ดี มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนหัวข้อ มีส่วนร่วมและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันในกิจกรรม ของนักเรียนนักเรียนมีความเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ข้อนี้ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
        4.3 ความพึงพอใจของ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอน และกรรมการสถานศึกษาที่มีต่อโครงการเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียน พบว่า ระดับความพึงพอใจของผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอน และกรรมการสถานศึกษา ที่มีต่อโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.50, 4.40, 4.38 และ 4.43 ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายกลุ่มของแหล่งข้อมูลพบว่า ผู้อำนวยการโรงเรียน มีความพึงพอใจต่อ การจัดการเรียนรู้บูรณาการตามโครงการ การจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง การจัดกิจกรรมปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ การจัดกิจกรรมการเพาะเห็ด การจัดกิจกรรมการเลี้ยงปลา การจัดกิจกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ การจัดกิจกรรมสร้างงานสร้างอาชีพ การประชาสัมพันธ์โครงการเกษตร และการยอมรับของชุมชนในโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด มีความพึงใจต่อการดำเนินงานตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน ความร่วมมือของผู้ปกครองและหน่วยงานที่ให้ความสนับสนุน และการนำความรู้ของนักเรียนไปใช้ในชีวิตประจำวัน อยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
    ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ การจัดการเรียนรู้บูรณาการตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน และการจัดกิจกรรมการเพาะเห็ดอยู่ในระดับมากที่สุด มีความพึงพอใจต่อ การดำเนินงานตามโครงการเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน การจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง การจัดกิจกรรมการเลี้ยงปลา การจัดกิจกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ การจัดกิจกรรมสร้างงานสร้างอาชีพ การนำความรู้ของนักเรียนไปใช้ในชีวิตประจำวัน การยอมรับของชุมชนในโครงการ การประชาสัมพันธ์โครงการ และความร่วมมือของผู้ปกครองและหน่วยงานที่ให้ความสนับสนุน อยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
    กรรมการสถานศึกษา มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน การจัดการเรียนรู้บูรณาการตามโครงการ และการนำความรู้ของนักเรียนไปใช้ในชีวิตประจำวัน อยู่ระดับมากที่สุด ส่วนหัวข้ออื่น ๆ อยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
    ความพึงพอใจต่อโครงการของ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอน และกรรมการสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อของรายการประเมิน พบว่า การดำเนินงานตามโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน การจัดกิจกรรมการเลี้ยงไก่ไข่ การจัดกิจกรรมสร้างงานสร้างอาชีพ การนำความรู้ของนักเรียนไปใช้ในชีวิตประจำวัน และความร่วมมือของผู้ปกครองและหน่วยงานที่ให้ความสนับสนุน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วน หัวข้ออื่น มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
    ผลการประเมินโครงการในภาพรวมของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนปทุมมาศวิทยา พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^