รายงานผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเรื่อง การวัด การชั่ง การตวง
ชื่อผู้วิจัย นางเตือนใจ ครองญาติ
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ สำนักการศึกษา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปีที่ดำเนินการ 2560
บทคัดย่อ
รายงานผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง การวัด การชั่ง และการตวง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและหาประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80 (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 38 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน จำนวน 11 แผน เวลา 11 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ แบบมาตราส่วนประมาณค่ามี 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ เครื่องมือดังกล่าวได้ผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญจนมีประสิทธิภาพ และนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และค่าที t - test
สรุปผลการวิจัย พบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ โดยรวมเท่ากับ 93.26/87.78 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการวัด การชั่ง และการตวง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.55) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจด้านการปฏิบัติกิจกรรม การเรียนการสอน ด้านเนื้อหา และด้านสื่อและอุปกรณ์การเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.67 , 4.63 , 4.51) ส่วนด้านการวัดและประเมินผล มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.37) ซึ่งเป็นไปตามสมติฐานข้อที่ 3