การพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดซิปปาโมเดล ประกอบแบบฝึกทักษะ
ผู้วิจัย เตือนใจ ครองญาติ โรงเรียนเทศบาลวัดมเหยงคณ์ เทศบาลนครนครศรีธรรมราช
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ตามแนวคิดซิปปาโมเดล ประกอบแบบฝึกทักษะ “สนุกคิดพิชิตโจทย์ปัญหา เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research & Development) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดซิปปาโมเดล ประกอบแบบฝึกทักษะ “สนุกคิดพิชิตโจทย์ปัญหา” เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอนตามแนวคิดซิปปาโมเดล ประกอบแบบฝึกทักษะ “สนุกคิดพิชิตโจทย์ปัญหา” เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ตามเกณฑ์ 80/80 (3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดซิปปาโมเดล ประกอบแบบฝึกทักษะ “สนุกคิดพิชิตโจทย์ปัญหา” เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ (4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการสอนตามแนวคิดซิปปาโมเดล ประกอบแบบฝึกทักษะ “สนุกคิดพิชิตโจทย์ปัญหา” เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) รูปแบบการสอนตามแนวคิดซิปปาโมเดล ประกอบแบบฝึกทักษะ “สนุกคิดพิชิตโจทย์ปัญหา” 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 16 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามครูและผู้เชี่ยวชาญ และ แบบสอบถามความความคิดเห็น จำนวน 10 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าที ค่าเฉลี่ย ( ) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดซิปปาโมเดล ประกอบแบบฝึกทักษะ “สนุกคิดพิชิตโจทย์ปัญหา” เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สรุปได้ดังนี้ 1) ด้านครูผู้สอนเน้นการสอนแบบบรรยาย 2) ด้านผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ 3) ด้านสื่อและแหล่งเรียนรู้มีน้อยมาก 4) ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 5) ใช้รูปแบบการสอนแบบซิปปาโมเดลพัฒนาทักษะการคิด และ 6) ประเมินผลให้หลากหลายตามสภาพจริง มีรายละเอียดดังนี้
1.1 ผลจากการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับการพัฒนารูปแบบการสอนตามแนวคิดซิปปาโมเดล ประกอบแบบฝึกทักษะ “สนุกคิดพิชิตโจทย์ปัญหา” เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาในรูปแบบหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยผ่านกระบวนการสอนตามแนวคิดซิปปาโมเดล ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนมีการแลกเปลี่ยนความรู้ จัดระเบียบความรู้เพื่อให้จำได้ง่าย มีการทำกิจกรรมกลุ่ม
1.2 ผลการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน พบว่า ความต้องการในการใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดซิปปาโมเดล ประกอบแบบฝึกทักษะ มีดังนี้ 1) ความต้องการด้านรูปแบบการสอนตามแนวคิดซิปปาโมเดล มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ 2) ความต้องการด้านเนื้อหาที่มีปัญหาในการเรียนรู้ของนักเรียน 3) ความต้องการด้านการจัดกิจกรรมเน้นทักษะกระบวนการ 4) ความต้องการด้านการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ 5) ความต้องการด้านการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงที่มีความหลากหลาย 6) ความต้องการจัดการเรียนรู้เน้นทักษะกระบวนการและการฝึกปฏิบัติ และ 7) ความต้องการด้านระยะเวลา
2. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการสอนตามแนวคิดซิปปาโมเดล ประกอบแบบฝึกทักษะ “สนุกคิดพิชิตโจทย์ปัญหา” เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนการสอน 5 ขั้นคือ 1) ขั้นสร้างความรู้/ทบทวนความรู้เดิม 2) ขั้นศึกษาหาความรู้ใหม่ 3) ขั้นแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 4) ขั้นสรุปผล/แสดงผลงาน 5) ขั้นประยุกต์นำไปใช้ และมีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 87.21/84.95
3. ผลการใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดซิปปาโมเดล ประกอบแบบฝึกทักษะ “สนุกคิดพิชิตโจทย์ปัญหา” วัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินรูปแบบการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ ประกอบแบบฝึกทักษะ “สนุกคิดพิชิตโจทย์ปัญหา” เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ระดับมาก ( = 4.46) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า รูปแบบการสอนตามแนวคิดซิปปาโมเดลเกือบทุกข้ออยู่ในระดับมาก และข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการเรียนไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ( = 4.83) รองลงมาคือ รูปแบบการสอนมีความเหมาะสมในการนำมาใช้ส่งเสริมทักษะการคิด ( = 4.60) และส่งเสริมให้นักเรียนมีความคิดวิเคราะห์ในการจัดแสดงผลงาน ( = 4.57) ตามลำดับ