การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะ
อย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ชื่อผู้วิจัย นางยุภา พลเยี่ยม
ปีที่วิจัย 2559
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการด้านการเรียนการสอน ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 12) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
3. เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ได้แก่ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน
ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลวัดเวฬุวันสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองร้อยเอ็ดจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 35คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้รูปแบบการสอนวิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบทดสอบวัดความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ( )ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที(t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันด้านการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 การบรรยาย และจดจำเนื้อหามากกว่าการคิดแก้ปัญหา ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนน้อย มีความต้องการให้สอนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสอดแทรกลงในเนื้อหาที่เรียนมากที่สุด ส่วนครูผู้สอน ส่วนใหญ่มีความต้องการให้ฝึกทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณให้กับผู้เรียน ต้องการให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณไปพร้อมเนื้อหาที่เรียน และต้องการทราบวิธีการสอน และการจัดอบรมเชิงปฏิบัติเพื่อพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
2. ผลการสร้างและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิด
อย่างมีวิจารณญาณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีดังนี้
2.1 รูปแบบการจัดการเรียนการสอนมีองค์ประกอบได้แก่ 1) หลักการของรูปแบบ
2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) กระบวนการเรียนการสอนหลักการตอบสนอง ระบบสังคม
สิ่งสนับสนุน สาระความรู้และสิ่งส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งมีกระบวนการเรียนการสอน 6ขั้นตอน คือ
ขั้นที่ 1 ขั้นนำ ขั้นที่ 2 ขั้นเสนอปัญหา ขั้นที่ 3 ขั้นฝึกคิดขั้นที่ 4 ขั้นเสนอความคิดขั้นที่ 5
ขั้นสรุปผลการคิด และขั้นที่ 6 ขั้นประเมินผลและนำไปใช้
2.2 ผลการตรวจสอบ ความเป็นไปได้และความสอดคล้องประสิทธิผลของรูปแบบ
การจัดการเรียนการสอน โดยผู้เชี่ยวชาญพบว่า ความสมเหตุสมผล ค่าดัชนีความสอดคล้องมีค่าระหว่าง 0.80-1.00 แสดงให้เห็นว่ารูปแบบการจัดการเรียนการสอน มีความสอดคล้องและมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้
3. ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 มีดังนี้
3.1 ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียน
การสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอน
ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พบว่า ในระดับมากที่สุด