เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
ชื่อผู้รายงาน นายวรภรพงศ์ ปันเดง ตำแหน่งรองผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านสร้างก่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการเศรษฐกิจโรงเรียนบ้านสร้างก่อ ปีการศึกษา 2560 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อประเมินสภาวะแวดล้อม ( Context Evaluation ) ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านสร้างก่อ ปีการศึกษา 2560 2.เพื่อประเมินปัจจัยเบื้องต้น ( Input Evaluation )ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านสร้างก่อ ปีการศึกษา 2560 3.เพื่อประเมินกระบวนการ ( Process Evaluation )ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านสร้างก่อ ปีการศึกษา 2560 4.เพื่อประเมินผลผลิต ( Product Evaluation )ของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านสร้างก่อ ปีการศึกษา 2560
จากกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ ได้จากการการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยพิจารณาจากการตัดสินใจของผู้วิจัยเองโดยคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้ตาราง Krejcie และ Morgan ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง ครูจำนวน 24 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 80 คน และ ผู้ปกครองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3จำนวน 80 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) จำนวน 3 ฉบับ เป็นแบบสอบถาม ด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหา ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าตามวิธีของครอนบาค (Cronbach) สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Mean) และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการดำเนินงานตามโครงการ
1. ผลการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า มีวัตถุประสงค์และการดำเนินงาน สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 4 และของโรงเรียน การจัดกิจกรรมต่างๆ เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของโรงเรียน มีวิธีการดำเนินงานที่ประหยัด ได้รับการสนับสนุนจากบุคลากรทุกฝ่าย ก่อนดำเนินงานอยู่ในระดับ มาก 2.ผลการพัฒนาด้านปัจจัยนำเข้าพบว่า ระยะเวลาดำเนินการเหมาะสมกับโครงการ การบริหาร การจัดกิจกรรมได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ โครงการและกิจกรรมต่างๆน่าสนใจมีสื่อ วัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ เพียงพอ มีการวางแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน ครูผู้ดำเนินงานมีความเหมาะสม นักเรียนมีความสนใจและให้ความร่วมมือในโครงการ มีงบประมาณเพียงพอ ก่อนดำเนินงานอยู่ในระดับ มาก 3. ผลการพัฒนาด้านกระบวนการ พบว่า มีการบริหารจัดการโครงการเศรษฐกิจพอเพียง ในเรื่องนโยบาย วิชาการ งบประมาณ บริหารทั่วไป มีการพัฒนาด้านหลักสูตร วัสดุ อุปกรณ์ และครูมีความพร้อมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการ มีการพัฒนาด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน เรื่องระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน และการแนะแนว มีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ ในกิจกรรมนักเรียน เช่นลูกเสือเนตรนารี มีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการเข้ากับหลักสูตร มีกิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์ มีการพัฒนาด้านบุคลากร มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติภารกิจหน้าที่ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง แก่บุคลากรของสถานศึกษา กับการขยายผลการดำเนินงานสู่สถานศึกษาอื่น ซึ่งผลการพัฒนา ประเมินในระหว่างทำโครงการอยู่ในระดับ มาก 4. ผลการพัฒนาด้านผลผลิต พบว่า การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนบ้านสร้างก่อ ปีการศึกษา 2560 ปรากฏผลที่เกิดจาก ผู้บริหาร ครู นักเรียน สถานศึกษา และชุมชน ประเมินหลังเสร็จสิ้นการทำโครงการอยู่ในระดับ มาก