การประเมินโครงการพัฒนาจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตร
วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช.
กระบี่ : โรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช.
บทคัดย่อ
การประเมินครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อประเมินโครงการพัฒนาจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช ภายใต้กรอบการประเมินเชิงระบบตามรูปแบบ CIPPIEST Model ดังนี้ 1) เพื่อประเมินบริบทของโครงการพัฒนาจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช 2) เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการพัฒนาจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช 3) เพื่อประเมินกระบวนการของโครงการพัฒนาจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช 4) เพื่อประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนาจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช 5) เพื่อประเมินผลกระทบของโครงการพัฒนาจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช 6) เพื่อประเมินประสิทธิผลของโครงการพัฒนาจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช 7) เพื่อประเมินความยั่งยืนของโครงการพัฒนาจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช และ 8) เพื่อประเมินการถ่ายโยงความรู้ของโครงการพัฒนาจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช กระบี่ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาห้องเรียนพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา โรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 300 คน โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช นักเรียนและผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช การประเมินในครั้งนี้ ดำเนินการในระหว่างวันที่ 1-31 ธันวาคม 2560 โดยการสอบถามความคิดเห็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPPIEST Model ประเมินเชิงระบบและวิเคราะห์ประเมินพฤติกรรมนักเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนภายหลังการดำเนินกิจกรรม โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการอธิบายข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
จากการประเมิน พบว่า
1. ภาพรวมของโครงการพัฒนาจัดการเรียนการสอนห้องเรียนพิเศษหลักสูตรวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษาของโรงเรียนเทศบาล 4 มหาราช มีระดับคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ด้านบริบทของโครงการมีความพร้อม อยู่ในระดับมาก
3. ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการมีความพร้อมด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวัสดุ-อุปกรณ์ และสถานที่ในการดำเนินการ อยู่ในระดับมากที่สุด
4. ด้านกระบวนการ มีการบริหารงานในการวางแผนและปฏิบัติการของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด
5. ด้านผลผลิต นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้และพฤติกรรมการเรียนรู้เป็นไปตามเป้าหมายที่หลักสูตรสถานศึกษาและเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนด อยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนและผู้ปกครองมีความพอใจในการดำเนินงานของทางโรงเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด
6. ด้านผลกระทบ พบว่า ผู้ปกครองนักเรียนพอใจในพัฒนาการเรียนรู้ที่ดีขึ้นของนักเรียน
อยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีพฤติกรรมเมื่อเทียบกับเกณฑ์ที่โรงเรียนกำหนดมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ อยู่ในระดับมาก
7. ด้านประสิทธิผล พบว่า นักเรียนเกิดความและมีความมั่นใจในความรู้ที่ได้รับระหว่างเข้าร่วมโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด
8. ด้านความยั่งยืน พบว่า นักเรียนสามารถนำประสบการณ์ระหว่างร่วมโครงการไปใช้
ในชีวิตประจำวันได้ อยู่ในระดับมากที่สุด และนักเรียนมีทักษะความสามารถ อยู่ในระดับมาก
9. ด้านการถ่ายโยงความรู้ พบว่า นักเรียนมีการนำประสบการณ์จากโครงการไปถ่ายทอด
ให้ผู้อื่นได้ และนักเรียนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เยาวชนในท้องถิ่น อยู่ในระดับมากที่สุด