รายงานการใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การจักสานไม้ไผ่
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษา นายอภิชาติ เชิญชู
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านแม่คาวหลวง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การจักสานไม้ไผ่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนก่อนใช้และหลังใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การจักสานไม้ไผ่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การจักสานไม้ไผ่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสันกลางวิทยา อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2 จำนวน 8 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าประกอบด้วย เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การจักสานไม้ไผ่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 4 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน แบบประเมินความพึงพอใจ จำนวน 1 ชุด และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้รายงานสร้างขึ้น จำนวน 1 ชุด ซึ่งมีค่าความยากตั้งแต่ 0.45–0.77 ค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.40–0.70 และความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า t–test แบบ Dependent Samples
ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การจักสานไม้ไผ่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.16/82.50 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การจักสานไม้ไผ่ หลังใช้เอกสารประกอบการเรียนสูงกว่าก่อนใช้เอกสารประกอบการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง การจักสานไม้ไผ่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.54) พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด