รายงานการประเมินโครงการเกษตรน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู
สู่ผู้เรียน โรงเรียนวัดหลวง(คลึงวิทยาคม) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาราชบุรี เขต 2
ชื่อผู้ประเมิน นายเอกสิทธิ์ เกิดลอย
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดหลวง(คลึงวิทยาคม)
ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
เกษตรน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแนวทางการดำเนินชีวิตและวิธีปฏิบัติด้วยการพึ่งตนเองเพื่อให้เกิดความพอกิน พอมีพอใช้ โดยใช้หลักความพอประมาณ การคำนึงถึงการมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีให้สามารถสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ การศึกษาครั้งนี้เป็นการประเมินโครงการเกษตรน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่ผู้เรียน โรงเรียนวัดหลวง(คลึงวิทยาคม) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินประสิทธิผลของโครงการ 4 ด้าน คือ 1) ด้านบริบท 2) ด้านปัจจัยเบื้องต้น 3) ด้านกระบวนการ 4) ด้านผลผลิต เป็นการประเมินความพึงพอใจ (1) ความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติงานเกษตร (2) ผลผลิตและอาหารกลางวัน (3) ความรู้ ความเข้ใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (4) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ(5) การนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนวัดหลวง(คลึงวิทยาคม) ในปีการศึกษา 2559 รวมจำนวน 75 คน เครื่องมือที่ใช้ในประเมินเป็นแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ด้านบริบทของโครงการ ความคิดเห็นของครู และกรรมการสถานศึกษาโดยรวมมีระดับความเหมาะสมสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ โครงการนี้มีความสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนและผู้เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน และโครงการนี้มีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนมีความเหมาะสมสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ ความคิดเห็นของนักเรียน และผู้ปกครองนักเรียนโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความสำคัญและความจำเป็นของโครงการ วัตถุประสงค์ของโครงการมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของโรงเรียน และโครงการนี้มีประโยชน์ต่อนักเรียนและผู้เกี่ยวข้อง ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ วัตถุประสงค์มีความสอดคล้องกับหลักการและเหตุผลของโครงการมีความเหมาะสมสอดคล้องอยู่ในระดับมาก
2. ด้านปัจจัยเบื้องต้นของโครงการ ความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ผู้บริหารให้การสนับสนุนในการจัดทำโครงการ ชุมชนได้ให้การสนับสนุนแก่โรงเรียนสม่ำเสมอมีความพอเพียงและความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ ความคิดเห็นของนักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า มีความพอเพียงและความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ผู้บริหารให้การสนับสนุนในการจัดทำโครงการ ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อใช้ในการดำเนินโครงการ และมีเอกสาร แหล่งค้นคว้า คู่มือการดำเนินงานตามโครงการอย่างเพียงพอ มีความพอเพียงและความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ จำนวนเครื่องมือการเกษตรที่ใช้ในโครงการมีเพียงพอมีความพอเพียงและความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. ด้านกระบวนการของโครงการ ความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการสถานศึกษา พบว่า โดยรวมการปฏิบัติและด้านผลผลิตอยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน การจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการประหยัด ความสามัคคี ความร่วมมือ ช่วยเหลือกันในระหว่างปฏิบัติงาน และการส่งเสริมให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจนเกิดความชำนาญจากประสบการณ์ตรงมีการปฏิบัติและด้านผลผลิตอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ ส่วนความคิดเห็นของนักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน พบว่า โดยรวมมีการปฏิบัติและด้านผลผลิตอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การดำเนินงาน รองลงมาคือ การจัดหาเอกสารประกอบด้านการเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง และการกำหนดปฏิทินการดำเนินโครงการที่มีความชัดเจนมีการปฏิบัติและด้านผลผลิตอยู่ในระดับมากที่สุด ตามลำดับ ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดคือ การส่งเสริมให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจนเกิดความชำนาญจากประสบการณ์ตรง
4. ด้านผลผลิตของโครงการ เป็นการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อโครงการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงสุด พบว่า ความรู้ความเข้าใจการปฏิบัติงานเกษตร คุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านคุณธรรม จริยธรรม และด้านผลผลิตและอาหารกลางวันมีระดับความพึงพอใจมากที่สุด ตามลำดับ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ความรู้ความเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง