LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนชลกันยานุกูล ประกาศปิดกรณีพิเศษ หยุดเทศกาลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ 2-3 ม.ค.68 มีผลหยุดยาว 9 วัน ตั้งแต่ 28 ธ.ค. 67 - 5 ม.ค.68 29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

เผยแพร่การพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์

usericon

ชื่อเรื่อง    การพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ ในการพัฒนาอุปนิสัยพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5
(พหลโยธินรามินทรภักดี) เทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
ผู้วิจัย        นางสาวอรุณี เจริญจิตรกรรม
ปีวิจัย        2559 -2560

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์บริบทและสภาพแวดล้อมของโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) เทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ ในการพัฒนาอุปนิสัยพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) เทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ ในการพัฒนาอุปนิสัยพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) เทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี และ 4) เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาอุปนิสัยพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) เทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
การวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการตามกระบวนการวิจัยและพัฒนา ( Research and Development) แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์บริบทและสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้บริหาร ครูและบุคลากรในโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) จำนวน 61 คน ด้วยการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ (Work Shop) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสังเคราะห์ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการ ด้วยสถิติการบรรยาย ขั้นตอนที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรในโรงเรียนและผู้บริหารสถานศึกษาอื่น จำนวน 9 คน ในการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion : FGD.) และผู้บริหารสถานศึกษาที่ทดลองใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ จำนวน 9 คนในการตรวจสอบรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์และแบบตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และสถิติการบรรยาย ขั้นตอนที่ 3 การศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหาร เชิงกลยุทธ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียนของโรงเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 366 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน (Two – Stage Random Sampling) และครูผู้สอนในโรงเรียน จำนวน 59 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ แบบประเมินอุปนิสัยพอเพียง แบบประเมินความสามารถในการจัดการเรียนรู้และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ขั้นตอนที่ 4 การประเมินรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาและด้านการบริหารสถานศึกษา จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ และแบบสอบถามเพื่อการประเมินรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป

ผลการวิจัยพบว่า
    จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
    1. การศึกษาวิเคราะห์บริบทและสภาพแวดล้อมของโรงเรียนจากการประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกันระหว่างผู้บริหาร ครูผู้สอนและบุคลากรในโรงเรียน สรุปได้เป็น วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายและยุทธศาสตร์การพัฒนาของโรงเรียน
    2. รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาอุปนิสัยพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) เทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี (T.5 SSPCS Model) ประกอบด้วย ตัวรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์และองค์ประกอบ จำนวน 5 ด้าน คือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม การกำหนดกลยุทธ์ การปฏิบัติตามกลยุทธ์ การควบคุมและประเมินกลยุทธ์ และการสร้างความพึงพอใจ และผลการตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ พบว่า โดยรวมรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.81, S.D.=0.23) และเมื่อพิจารณาทั้งรูปแบบการบริหารและองค์ประกอบ พบว่า ทั้งรูปแบบการบริหารและองค์ประกอบทุกด้าน มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด โดยสูงสุดคือรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ และองค์ประกอบที่มีความเหมาะสมสูงสุด คือ การกำหนดกลยุทธ์ กับการปฏิบัติตามกลยุทธ์ รองลงมาคือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม และการควบคุมและประเมินกลยุทธ์กับการสร้างความพึงพอใจ ตามลำดับ
    3. การศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาอุปนิสัยพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) เทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี มีดังนี้
        3.1 อุปนิสัยพอเพียงของนักเรียน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า โดยรวมผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นต่ออุปนิสัยพอเพียงของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar =4.74, S.D.=0.34) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านและรายข้อ พบว่า ทุกด้านและทุกข้อผู้ปกครองนักเรียนมีความคิดเห็นต่ออุปนิสัยพอเพียงของนักเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด โดยสูงสุดคือ ด้านความพอประมาณ รองลงมาคือ ด้านเงื่อนไขความรู้ ลำดับต่อมาคือ ด้านเงื่อนไขคุณธรรม และด้านความมีเหตุผล กับด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ตามลำดับ
        3.2 ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูในโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) พบว่า โดยรวม ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x-bar=4.75, S.D.=0.27) และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยสูงสุดคือ ด้านความพอประมาณ รองลงมาคือ ด้านเงื่อนไขความรู้ ลำดับต่อมาคือ ด้านเงื่อนไขคุณธรรม และด้านความมีเหตุผลกับด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านและรายข้อ พบว่า ทุกด้านและทุกข้อ ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุด
        3.3 ความพึงพอใจของครูที่มีต่อรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาอุปนิสัยพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) เทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี พบว่า โดยรวมครูมีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x-bar=4.77, S.D.=0.27) และเมื่อพิจารณาองค์ประกอบเป็นรายด้าน พบว่า องค์ประกอบทุกด้านครูมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยสูงสุดคือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม รองลงมาคือ การปฏิบัติตามกลยุทธ์ กับการสร้างความพึงพอใจ ลำดับต่อมาคือ การกำหนดกลยุทธ์กับการควบคุมและประเมินกลยุทธ์ ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อขององค์ประกอบแต่ละด้าน พบว่า ทุกข้อขององค์ประกอบแต่ละด้านครูมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
    4. การประเมินรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ในการพัฒนาอุปนิสัยพอเพียงของนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามินทรภักดี) เทศบาลเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี พบว่า โดยรวมรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ มีความเหมาะสมสามารถปฏิบัติได้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( x-bar=4.72, S.D.=0.12) และเมื่อพิจารณาทั้งตัวรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์และองค์ประกอบ พบว่า ทั้งตัวรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์และองค์ประกอบทุกด้าน มีความเหมาะสมสามารถปฏิบัติได้ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีความเหมาะสมสามารถปฏิบัติได้สูงสุดคือ ตัวรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ ส่วนองค์ประกอบด้านที่มีความเหมาะสมสามารถปฏิบัติได้สูงสุดคือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อม รองลงมาคือ การปฏิบัติตามกลยุทธ์ ลำดับต่อมาคือ การสร้างความพึงพอใจ และการกำหนดกลยุทธ์ กับการควบคุมและประเมินกลยุทธ์ ตามลำดับ และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อขององค์ประกอบแต่ละด้าน พบว่า ทุกข้อขององค์ประกอบแต่ละด้านมีความเหมาะสมสามารถปฏิบัติได้อยู่ในระดับมากที่สุด


ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^