รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
การจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข จังหวัดตรัง
ปีการศึกษา 2557
นางสาวพัชรินทร์ดา นาคพล
รองผู้อำนวยการโรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข
โรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 13
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ
ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้
สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข ปีการศึกษา 2557
ผู้รายงาน : นางสาวพัชรินทร์ดา นาคพล
ปีที่รายงาน : ปีการศึกษา 2557
บทสรุป
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข ปีการศึกษา 2557 มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน ด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการการดำเนินโครงการ และด้านผลผลิตของโครงการประกอบด้วย 1) คุณภาพการพัฒนาศักยภาพครูตามโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน 2) พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูตามโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน 3) คุณภาพการจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข จำแนกเป็น 3.1) มาตรฐานด้านผู้เรียน มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง 3.2 ) มาตรฐานด้านการจัดการศึกษา มาตรฐานที่ 7 ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ อย่างมีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผล 4) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข จำแนกเป็น 4.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1– 6 โรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข 4.2 ) ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน(O–NET) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 6โรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข 5) ความพึงพอใจในการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข โดยประยุกต์รูปแบบการประเมินซิปป์ (CIPP Model) มาใช้ในการประเมิน โดยมีการประเมิน 2 ลักษณะได้แก่ การประเมินโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็น ความพึงพอใจและการตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษา มาตรฐานด้านครู และมาตรฐานด้านผู้เรียน รวมถึงตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ทั้งระดับสถานศึกษา และระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O–NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบบันทึกผลการประเมินตามสภาพจริงในการประเมินครั้งนี้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางประมาณค่าขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน และสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นxxxส่วน โดยใช้ระดับชั้นเป็นหน่วยการสุ่ม และสุ่มอย่างง่ายโดยวิธีจับสลาก ได้กลุ่มตัวอย่างนักเรียน จำนวน 293 คน ครู กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางประมาณค่าขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน และสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นxxxส่วน โดยใช้กลุ่มสาระการเรียนรู้เป็นหน่วยการสุ่ม และสุ่มอย่างง่ายโดยใช้วิธีจับสลาก ได้กลุ่มตัวอย่างครู จำนวน 53 คน ผู้ปกครอง กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยใช้ผู้ปกครองของนักเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง ได้กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครอง จำนวน 293 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยยกเว้นผู้บริหารสถานศึกษาและผู้แทนครู ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งสิ้น 10 ฉบับ เป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 6 ฉบับ ทุกฉบับมีการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ ได้ค่าความเชื่อมั่นแต่ละฉบับ ระหว่าง .93 - .98 และแบบบันทึกผลการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข มาตรฐานที่ 3 และมาตรฐานที่ 7 ปีการศึกษา 2557 ตามสภาพจริงและแบบบันทึกผลสัมฤทธิ์ระดับสถานศึกษาและระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O – NET) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตามสภาพจริง ปีการศึกษา 2557 จำนวน 4 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินด้านคุณภาพการพัฒนาศักยภาพครูตามโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียนโรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข ปีการศึกษา 2557 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง โดยรวมทั้งสามกลุ่มที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. พฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูตามโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข ปีการศึกษา 2557 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู และ ผู้ปกครอง โดยประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผน และเตรียมการจัดการเรียนรู้ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ และการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โดยรวมทั้งสามกลุ่ม ที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. คุณภาพการจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข จำแนกเป็น
3.1 มาตรฐานด้านผู้เรียน มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ในภาพรวมมีผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 87.54 อยู่ในระดับดีมาก ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
3.2 มาตรฐานด้านการจัดการศึกษา มาตรฐานที่ 7 ครูปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผล ในภาพรวมมีผลการประเมินมีค่าเฉลี่ยร้อยละ 93.00 อยู่ในระดับดีเยี่ยม ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข จำแนกเป็น
4.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 6 โรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข มีค่าเฉลี่ย 2.60 ได้คะแนนเฉลี่ย 5 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
4.2 ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน ( O – NET ) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 36.95 ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
5. ความพึงพอใจในการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข ปีการศึกษา 2557 ตามความคิดเห็นของนักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมทั้งสี่กลุ่มที่ประเมิน พบว่า มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนด ได้คะแนนเฉลี่ย 10 ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะเพื่อนำผลการประเมินไปใช้
1.1 โรงเรียนควรมีการประสานงานขอความร่วมมือในการดำเนินการโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข จากทุกฝ่าย ที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
1.2 โรงเรียนควรมีการประสานงาน กับหน่วยงานภายนอกเพื่อขอรับการสนับสนุนด้านงบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ที่มีความจำเป็นในการดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
1.3 โรงเรียนควรมีการกำหนดกรอบ และปฏิทินคอยกำกับ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินโครงการต่าง ๆ และนำผลสรุปจากการดำเนินโครงการต่าง ๆ มาปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
1.4 โรงเรียนควรเปิดโอกาสและส่งเสริมให้ชุมชน ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ มากขึ้นและ มีความต่อเนื่อง
1.5 โรงเรียนควรจัดโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ สู่คุณภาพผู้เรียน เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง
2. ข้อเสนอแนะในการประเมิน/วิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการศึกษาหรือดำเนินการวิจัย เพื่อการพัฒนาตัวชี้วัดเกี่ยวกับคุณภาพครูที่เป็นปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลและส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนสูงขึ้น ซึ่งสามารถนำไปปรับปรุงและนำไปใช้เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป
2.2 ควรมีการประเมินผลกระทบจากการดำเนินโครงการในระยะยาว เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของผู้เรียน ที่ได้รับจากการดำเนินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข
2.3 ควรมีการนำวิธีการประเมิน หรือ รูปแบบการประเมินแบบอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากการประเมินโดยใช้ซิปโมเดล (CIPP Model) มาประเมินโครงการพัฒนาศักยภาพครู เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการเรียนรู้สู่คุณภาพผู้เรียน โรงเรียนสวัสดิ์รัตนาภิมุข เพื่อการยืนยันผล