การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการคิดวิเคราะห์
ชื่อ-สกุลผู้วิจัย นางมนัสดา ดำแก้ว
ปีที่ทำวิจัยเสร็จ 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาชีววิทยา 3 เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 5/1 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นสอดแทรกกิจกรรมการคิดวิเคราะห์ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์รายวิชาชีววิทยา 3 เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสงของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นสอดแทรกกิจกรรมการคิดวิเคราะห์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการทำวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเทศบาล 5 (วัดหัวป้อมนอก) อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา จำนวน 27 คน จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นสอดแทรกกิจกรรมการคิดวิเคราะห์ จำนวน 7 แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาชีววิทยา 3 เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง แบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ รายวิชา ชีววิทยา 3 เรื่องการสังเคราะห์ด้วยแสง แบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาชีววิทยา 3 เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 หลังสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นสอดแทรกกิจกรรมการคิดวิเคราะห์
2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์รายวิชาชีววิทยา 3 เรื่อง การสังเคราะห์ด้วยแสง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 หลังสูงกว่าก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นสอดแทรกกิจกรรมการคิดวิเคราะห์