รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนระดับปฐมวัย
โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ชื่อผู้ประเมิน นางสาวอารมย์ พูลภักดี
ตำแหน่ง ผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ปีที่ประเมิน ปีการศึกษา 2559
บทคัดย่อ
รายงานการประเมินโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมนักเรียนระดับปฐมวัย โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองสตูล จังหวัดสตูล มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงาน โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) เพื่อประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ประชากรที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้เป็นผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองนักเรียนระดับ ชั้นอนุบาล จำนวน 411 คน ส่วนการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยผู้บริหาร ครู และผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นอนุบาล จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามจำนวน 6 ชุด ข้อคำถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับและเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้ การสนทนากลุ่ม (Focus Group) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( ) และการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนาความ
ผลการประเมินพบว่า
1. ผลการประเมินบริบทของโรงเรียน พบว่า การประเมินด้านบริบทเพื่อประเมินความต้องการจำเป็นของผู้บริหารและครูโรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองสตูล จังหวัดสตูล ประจำปีการศึกษา 2559 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาโครงการข้อ 1 ด้านการส่งเสริมการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ให้กับนักเรียน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดโรงเรียนจึงมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
2. ผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้น พบว่า ความพร้อมของปัจจัยเบื้องต้นเกี่ยวกับบุคลากรวัสดุอุปกรณ์ และงบประมาณในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ผู้บริหารให้ความสำคัญและสนับสนุนโครงการ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ บุคลากรมีความรู้ ความสามารถ เหมาะสมกับการดำเนินงาน และบุคลากรได้รับการส่งเสริมอบรมเกี่ยวกับการดำเนินงาน
3. ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงาน พบว่า การประเมินกระบวนการดำเนินงานโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า การประชุมวางแผนใน การดำเนินงานผู้บริหารโรงเรียนควบคุมดูแลและนิเทศงานโครงการมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ความชัดเจนของปฏิทินปฏิบัติงานของโครงการและครูผู้รับผิดชอบกำกับดูแลติดตามนิเทศอยู่ตลอดเวลา
4. ผลการประเมินผลผลิตของโครงการการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม ของนักเรียนพบว่า
(1) การประเมินผลผลิตด้านผลสำเร็จของโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดและเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า กิจกรรมของโครงการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ โครงการเสร็จสิ้นทันเวลา และบุคลากรที่ได้รับมอบหมายรับผิดชอบตามหน้าที่
(2) ความสำเร็จของกิจกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรมทั้ง 10 ด้าน ผลการประเมินพบว่านักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมหลังทำโครงการสูงกว่าก่อนทำโครงการ และคุณธรรมจริยธรรมที่เพิ่มขึ้นมากที่สุดหลังจากทำโครงการ คือ ความรับผิดชอบ รองลงมาคือ ความยุติธรรม และความสุภาพ
(3) ผลการประเมินผลผลิตด้านความพึงพอใจของผู้ที่เกี่ยวข้อง พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ครูส่วนใหญ่รู้สึกว่าการอบรมตามโครงการนี้มีประโยชน์มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือการอบรมครั้งนี้ท่านได้รับความรู้ตามที่ท่านต้องการ และครูรู้สึกมีความกระตือรือร้นต่อการนำเทคนิควิธีการที่วิทยากรถ่ายทอด
4) ผลการประเมินเชิงคุณภาพโดยใช้รูปแบบการสนทนากลุ่ม (Focus group) พบว่า ด้านปัจจัย มีความพร้อมทั้งทางด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ โดยผู้มีบทบาทสำคัญคือผู้บริหารสถานศึกษา ที่ให้ความสำคัญกับการจัดการศึกษา และมีแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆ โดยมีคณะครูที่สนองรับภารกิจ ทำให้ผลการดำเนินงานสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ ด้านกระบวนการ มีความเห็นว่า กระบวนการฝึกอบรม การศึกษาดูงาน และการนิเทศติดตามผลการดำเนินงานส่งผลต่อความสำเร็จในการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมของนักเรียน และด้านผลผลิต มีความเห็นว่า กระบวนการดำเนินงานส่งผลต่อพฤติกรรมของนักเรียนที่สะท้อนความมีคุณธรรมและจริยธรรมที่ดี สร้างความภาคภูมิใจให้กับครูและผู้ปกครองของนักเรียน