รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนร
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านร้องเรือ
ผู้รายงาน นางปณิฎา มะหลีแก้ว
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
รายงานผลการศึกษาการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ โรงเรียนบ้านร้องเรือมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านร้องเรือ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80 / 80 เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและ หลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านร้องเรือและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้ โดยการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านร้องเรือ
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านร้องเรือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 22 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษา พบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นทั้ง 7 เล่ม มีประสิทธิภาพ เฉลี่ยเท่ากับ 86.73 / 85.26 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือ 80 / 80 และเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
2. ผลการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการใช้แบบฝึกทักษะ การอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3. การศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านเชิงคิดวิเคราะห์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจโดยรวมในระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.61