รายงานผลการใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง “การดำรงชีวิตของพืชแล
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางเปรุวรรณ กรงทอง
สถานที่ โรงเรียนสหราษฎร์บำรุง อำเภอปัว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
รายงานผลการใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง “การดำรงชีวิตของพืชและสัตว์” กลุ่มสาระ
การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสหราษฎร์บำรุง อำเภอปัว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 ในการศึกษาพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพ ของเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง “การดำรงชีวิตของพืชและสัตว์” กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง “การดำรงชีวิตของพืชและสัตว์” กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนหลังการใช้เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง “การดำรงชีวิตของพืชและสัตว์” กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ของโรงเรียนสหราษฎร์บำรุง อำเภอปัว สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 2 จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sample) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง “การดำรงชีวิตของพืชและสัตว์” กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2 จำนวน 7 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การดำรงชีวิตของพืชและสัตว์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง “การดำรงชีวิตของพืชและสัตว์” กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t – test แบบ Dependent
ผลการศึกษาและพัฒนา พบว่า
1. เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง “การดำรงชีวิตของพืชและสัตว์” กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.06/84.72 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
2. นักเรียนมีระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง “การ
ดำรงชีวิตของพืชและสัตว์” กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง “การดำรงชีวิตของพืชและสัตว์”
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในระดับมาก