การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะและความสามารถใน
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (SAOW Model) ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการและองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำไปใช้ มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 4 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน (Start : S) 2) ขั้นจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (Ability : A) 3 ) ขั้นฝึกทักษะ (Operate : O) 4) ขั้นสรุป (Wind up : W)ซึ่งมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.87/81.50 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (SAOW Model) พบว่า
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 3 (SAOW Model) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ .01
2.2 ทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (SAOW Model) สูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ .01
2.3 ทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหา ของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (SAOW Model) สูงขึ้นในช่วงระหว่างเรียน
2.4 ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (SAOW Model) อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar = 4.67/S.D. = 0.48)
3. การขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 (SAOW Model) พบว่านักเรียนกลุ่มขยายผลมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหา หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ และมีพัฒนาการทักษะและความสามารถในการแก้ปัญหาในช่วงระหว่างเรียน นอกจากนี้ความคิดเห็นที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด