การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ Sutamas Model
1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ Sutamas Model เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างความรู้และทักษะการนำความรู้ไปใช้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) ประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการและองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำไปใช้ มีกระบวนการจัดการเรียนรู้ 7 ขั้น คือ ขั้นที่ 1 นำเข้าสู่บทเรียน (S = Suggest) ขั้นที่ 2 กระตุ้นความสนใจ (u = urge)ขั้นที่ 3 แสวงหาความรู้ (t = take over) ขั้นที่ 4 ต่อยอดความรู้ (a = attach) ขั้นที่ 5 ฝึกทักษะ (m = manner) ขั้นที่ 6 สรุป (a = abstract) และขั้นที่ 7 นำไปใช้ (s = spend) ซึ่งมีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.29/83.42 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ Sutamas Model เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างความรู้และทักษะการนำความรู้ไปใช้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๓
(วิมุกตายนวิทยา) พบว่า
2.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ Sutamas Model เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างความรู้และทักษะการนำความรู้ไปใช้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.2 ทักษะการสร้างความรู้และทักษะการนำความรู้ไปใช้ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ Sutamas Model เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างความรู้และทักษะการนำความรู้ไปใช้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๓
(วิมุกตายนวิทยา) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2.3 ทักษะการสร้างความรู้และทักษะการนำความรู้ไปใช้ของนักเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ Sutamas Model เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างความรู้และทักษะการนำความรู้ไปใช้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) พัฒนาสูงขึ้นในช่วงระหว่างเรียน
2.4 ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ Sutamas Model เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างความรู้และทักษะการนำความรู้ไปใช้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) อยู่ในระดับมากที่สุด (x-bar= 4.71, S.D. = 0.56)
3. การขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ Sutamas Model เพื่อพัฒนาทักษะการสร้างความรู้และทักษะการนำความรู้ไปใช้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเทศบาล ๓ (วิมุกตายนวิทยา) พบว่านักเรียนกลุ่มขยายผลมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการสร้างความรู้และทักษะการนำความรู้ไปใช้หลังการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ และมีพัฒนาการทักษะการสร้างความรู้และทักษะการนำความรู้ไปใช้ในช่วงระหว่างเรียน นอกจากนี้ความคิดเห็นที่มีต่อการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด