เผยแพร่ผลงานวิชาการ
ผู้ศึกษา นางมนัสนันท์ ทองทิพย์
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
รายงานการใช้แบบฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีจุดประสงค์ในการศึกษา (1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านสระนางมโนราห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) แบบฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 5 เล่ม คือ เล่มที่ 1 เรื่อง การสังเกต การจำแนก เล่มที่ 2 เรื่อง การเรียงลำดับ เล่มที่ 3 เรื่อง การจัดหมวดหมู่ เล่มที่ 4 เรื่อง การเปรียบเทียบ เล่มที่ 5 เรื่อง การนับจำนวน และการรู้ค่าจำนวน 1 – 10 (2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 เป็นแบบเลือกตอบ 3 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 10 ข้อ
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.50/83.75 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้แบบฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 มีคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ในภาพรวมมีค่าเท่ากับ 4.78 หมายถึง ความพึงพอใจของนักเรียนมีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 อยู่ในระดับ มากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ทุกข้อนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด