รายงานการประเมินโครงการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู
โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์
ชื่อผู้รายงาน นางสาวลภัสรดา ทิพย์แก้ว
หน่วยงาน โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการดำเนินงานโครงการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู(Professional Learning Community) โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์ โดยใช้การประเมิน รูปแบบ ซิปป์ (CIPP Evaluation Model) เพื่อประเมินความเหมาะสมและความสอดคล้องสภาวะแวดล้อม ประเมินความพร้อมของปัจจัยเบื้องต้น ประเมินการมีส่วนร่วมในการดำเนินการด้านกระบวนการและเพื่อประเมินความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมของโครงการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู(Professional Learning Community) โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์ โดย มีการประเมิน ๔ ด้าน ดังนี้ ด้านสภาวะแวดล้อม(Context) ด้านปัจจัยนำเข้า(Input) ด้านกระบวนการ(Process) ด้านผลผลิต(Product)ประชากรที่ใช้ในการประเมินโครงการครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน ๔ คน ครู จำนวน ๖๐ คน กลุ่มตัวอย่างคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์ จำนวน ๑๒ คน และกลุ่มตัวอย่างนักเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์ จำนวน ๒๕ คน รวมทั้งสิ้น ๑๐๐ คน
วัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู(Professional Learning Community) โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์ มีดังนี้
๑. เพื่อประเมินบริบทสภาวะแวดล้อม Context)ของโครงการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู(Professional Learning Community) โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์
๒. เพื่อประเมินปัจจัยนำเข้า(Input) ของโครงการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู(Professional Learning Community) โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์
๓. เพื่อประเมินกระบวนการ(Process) ของโครงการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู(Professional Learning Community) โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์
๔. เพื่อประเมินผลผลิต(Product)ของโครงการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู(Professional Learning Community) โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์
การประเมินโครงการ
ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู(Professional Learning Community) โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์ ผู้บริหาร ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน(ในภารวม) พบว่าระดับความคิดเห็น อยู่ในระดับมาก ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการร่วมดำเนินการโครงการฯของนักเรียน(ในภาพรวม) พบว่าระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก เช่นกัน โดยแยกตามรูปแบบ (CIPP Evaluation Model) ๔ ด้าน ดังนี้
ผลการศึกษา มีดังนี้
๑. การประเมินโครงการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู(Professional Learning Community) โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์ ด้านสภาพแวดล้อม ( C : Context Evaluation) โดยแยกสรุปตามความคิดเห็น ดังนี้ ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่ามีความเหมาะสมและสอดคล้อง ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า ความเหมาะสมและสอดคล้องอยู่ในระดับมากที่สุด
๒. การประเมินโครงการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู(Professional Learning Community) โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์ ด้านปัจจัยนำเข้า (I : Input Evaluation) โดยแยกสรุปความคิดเห็นดังนี้ ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่ามีความความพร้อมในการดำเนินการโครงการฯ ด้านปัจจัยนำเข้า ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า ความพร้อมในการร่วมดำเนินการโครงการฯ ด้านปัจจัยนำเข้า ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
๓. การประเมินโครงการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู(Professional Learning Community) โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์ ด้านกระบวนการ (P: Process Evaluation) โดยแยกสรุปตามความคิดเห็น ดังนี้ ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่ามีความความพร้อมในการดำเนินการโครงการฯ ด้านกระบวนการ ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า ความพร้อมในการดำเนินการโครงการฯ ด้านกระบวนการ ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
๔ . การประเมินโครงการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู(Professional Learning Community) โรงเรียนเทศบาล ๕ วัดพระปฐมเจดีย์ ด้านผลผลิต(P: Product Evaluation) โดยแยกสรุปตามความคิดเห็น ดังนี้ ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่ามีความความพึงพอใจในการร่วมดำเนินการโครงการฯ ด้านผลผลิต ในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก ความคิดเห็นของนักเรียน พบว่า ความพึงพอใจในการร่วมโครงการฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด