เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
นายเชิงชัย จันทพิมพ์ ครูชำนาญการ โรงเรียนเหล่ายาววิทยาคาร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้ เทคนิค TAI เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
มีจุดมุ่งหมายเพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค TAI เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกับก่อนเรียน โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค TAI และศึกษาความพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค TAI กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเหล่ายาววิทยาคาร อำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 24 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 14 แผน แบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ ซึ่งมีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.21 ถึง 0.97 และ ค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.65 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งชุด เท่ากับ 0.9020 แบบทดสอบประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 12 ฉบับ มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.30 ถึง 0.82 และค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.30 ถึง 0.80 และมีค่าความเชื่อมั่น (rcc) เป็นรายชุด โดยเรียงลำดับจากชุดที่ 1 ถึง 7 เท่ากับ 0.78, 0.62, 0.74, 0.76, 0.68, 0.72, และ 0.72 และแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียน ซึ่งเป็นชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.9834 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ดัชนีประสิทธิผล และสถิติตรวจสอบสมมุติฐาน t–test แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพแผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค TAI เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 88.52/87.26 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค TAI เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าเท่ากับ 0.8132 ซึ่งหมายความว่านักเรียนมีความรู้หลังเรียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 81.32
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค TAI เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สูงกว่า
ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้เทคนิค TAI เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
โดยสรุป การจัดกิจกรรมพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค TAI ที่มีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู รวมทั้งได้เรียนรู้ด้วยความเข้าใจและมีความสุข