LASTEST NEWS

29 พ.ย. 2567โรงเรียนไพศาลีพิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,000.- บาท สมัครตั้งแต่บัดนี้ - 6 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข”

การพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทย

usericon

ชื่อเรื่อง การพัฒนาความสามารถในการอ่านและการเขียนภาษาไทย โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านและ
     การเขียน ประกอบการใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการรูปแบบวงจรลำดับเวลา
ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านคำนาดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสกลนคร เขต ๒ จังหวัดสกลนคร
ผู้ศึกษา นางสาวนุชนภางค์ พ่อคุณตรง ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนบ้านคำนาดี
     จังหวัดสกลนคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต ๒
ปีที่ศึกษา ๒๕๖๐

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เพื่อใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการรูปแบบวงจรลำดับเวลา โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียน มาพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ ๒ ที่มีปัญหาด้านการอ่านและการเขียน โรงเรียนบ้านคำนาดี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต ๒ ที่ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการรูปแบบวงจรลำดับเวลาเป็นกระบวนการวิจัยที่มีขั้นตอนปฏิบัติการอย่างละเอียดชัดเจน ๘ ขั้นตอน ประกอบด้วย การระบุปัญหา การประเมินความต้องการการตั้งสมมุติฐาน การพัฒนาแผนปฏิบัติ การปฏิบัติตามแผน การประเมินการปฏิบัติ การสะท้อนอธิบาย เข้าใจและการตัดสินใจ เป็นกระบวนการปฏิบัติงานที่เป็นระบบโดยเริ่มต้นด้วยการระบุปัญหาแล้วนำไปสู่ขั้นตอนการวางแผน การลงมือปฏิบัติตามแผนและการประเมินผลการปฏิบัติรวมทั้งมีการส่องสะท้อนผล เพื่อการปรับปรุงสิ่งที่กำลังดำเนินการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ได้ผลดียิ่งขึ้น ผู้ศึกษาจึงนำกระบวนการวิจัยปฏิบัติการรูปแบบวงรอบลำดับเวลามาใช้ในการศึกษาครั้งนี้กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านคำนาดี จังหวัดสกลนคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต ๒ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๐ จำนวน ๗ คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยแผนการจัด
การเรียนรู้ จำนวน ๑๒ แผน หนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียน จำนวน ๑๒ เล่ม แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านและการเขียน แบบฝึกหัดการอ่านและการเขียนและแบบสังเกตพฤติกรรม การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์เชิงคุณภาพและวิเคราะห์เชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการศึกษาพบว่า
๑. ผลการใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการรูปแบบวงจรลำดับเวลา
๑.๑ ขั้นตอนระบุปัญหา สามารถระบุปัญหาที่ต้องการปรับปรุงได้ว่า นักเรียนอ่าน
ไม่ถูกต้องและเขียนไม่ถูกต้อง
๑.๒ ขั้นตอนประเมินความต้องการจำเป็น พบว่า สาเหตุที่นักเรียนอ่านไม่ถูกต้อง
และเขียนไม่ถูกต้อง ได้แก่ นักเรียนอ่านออกเสียงพยัญชนะไม่ถูกต้อง จำรูปสระไม่ได้และแจกลูกสะกดคำไม่เป็น
๑.๓ ขั้นตอนการตั้งสมมุติฐาน กำหนดสมมุติฐานได้ว่า การฝึกทักษะการอ่าน
และการเขียน จากหนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียน โดยการแจกลูกสะกดคำ จะทำให้นักเรียนมีหลักเกณฑ์ในการอ่านและการเขียน สามารถอ่านและเขียนได้อย่างถูกต้องและคล่องแคล่ว
๑.๔ ขั้นตอนการพัฒนาแผนปฏิบัติการ ผู้ศึกษาดำเนินการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้
จำนวน ๑๒ แผน และสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียน จำนวน ๑๒ เล่ม แต่ละเล่มมีแบบ
ฝึกหัดย่อยท้ายเล่ม คือ แบบฝึกหัดทักษะการอ่านและการเขียนและแบบทดสอบก่อนและหลังเรียนในแต่ละเล่ม
๑.๕ ขั้นตอนปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ ระยะเวลาในการสร้างเครื่องมือและ
หาประสิทธิภาพของเครื่องมือคือตั้งแต่วันที่ ๑๗ พฤษภาคม ๒๕๖๐ ถึง วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๐
        ๑.๖ ปฏิบัติการสอนกลุ่มเป้าหมายตามแผนการจัดการเรียนรู้ เริ่มตั้งแต่วันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ ถึงวันที่ ๑๕ ธันวาคม ๒๕๖๐ จำนวน ๒๖ ชั่วโมง
๑.๗ ขั้นตอนการประเมินผลการปฏิบัติพบว่า ในภาพรวมนักเรียนอ่านถูกต้องมี
ค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๘.๘๙ อยู่ในระดับดี อ่านคล่องแคล่วอยู่ในระดับดีมาก ส่วนการเขียนพบว่า เขียนถูกต้องมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๘.๖๗ อยู่ในระดับดี และเขียนคล่องแคล่วอยู่ในระดับดีมาก
๑.๗.๑ เมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคลพบว่า นักเรียนสามารถอ่านถูกต้องระดับ
ดีมาก จำนวน ๔ คน คือนักเรียนเลขที่ ๑,๒,๔ และ ๖ อ่านถูกต้องระดับดี จำนวน ๑ คน คือ นักเรียนเลขที่ ๓ และอ่านถูกต้อง ระดับพอใช้ จำนวน ๒ คน คือ นักเรียนเลขที่ ๕ และ ๗ ส่วนการเขียนปรากฏว่า นักเรียนเขียนถูกต้องระดับดีมาก จำนวน ๔ คน คือนักเรียนเลขที่ ๑,๒,๔ และ๖ เขียนถูกต้องระดับดี จำนวน ๑ คน คือ นักเรียนเลขที่ ๓ และเขียนถูกต้องระดับพอใช้ จำนวน ๒ คน คือ นักเรียนเลขที่ ๕ และ ๗ แล้วแจ้งผลการประเมินให้นักเรียนทราบ เพื่อจะได้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงการอ่านและการเขียนของตนเองต่อไป
๑.๗.๒ ผู้ศึกษาได้ทำการประเมินทักษะการอ่านและการเขียนและแบบทดสอบ
ย่อย เพื่อสรุปผลการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนของนักเรียน พบว่า คะแนนของนักเรียนทุกคน จากการอ่าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๑๐๓.๐๐ คิดเป็นร้อยละ ๘๕.๘๓ ส่วนการเขียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๑๐๑.๒๙ คิดเป็นร้อยละ ๘๔.๔๑ และทดสอบ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๑๐๓.๑๔ คิดเป็นร้อยละ ๘๕.๙๕ แสดงว่า นักเรียนมีความสามารถในการอ่านและการเขียน ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้คือร้อยละ ๘๐
๑.๗.๓ เมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคลพบว่า นักเรียนสามารถอ่านถูกต้องระดับ
ดีมาก จำนวน ๔ คน คือ นักเรียนเลขที่ ๑,๒,๓ และ ๖ อ่านถูกต้องระดับดี จำนวน ๑ คน คือ นักเรียนเลขที่ ๓ และอ่านถูกต้องระดับพอใช้ จำนวน ๒ คน คือ นักเรียนเลขที่ ๕ และ ๗
อ่านคล่องแคล่วระดับดีมาก จำนวน ๔ คน คือ นักเรียนเลขที่ ๑,๒,๓ และ ๖ ระดับดีจำนวน ๓ คน คือนักเรียนเลขที่ ๔,๕ และ ๗ ส่วนการเขียนปรากฏว่า นักเรียนเขียนถูกต้องระดับดีมาก จำนวน ๔ คน คือ นักเรียนเลขที่ ๑,๒,๔และ๖ เขียนถูกต้องระดับดี จำนวน ๑ คน คือ นักเรียนเลขที่ ๓
เขียนถูกต้องระดับพอใช้ จำนวน ๒ คน คือ นักเรียนเลขที่ ๕ และ ๗ นักเรียนเขียนคล่องแคล่วระดับดี จำนวน ๕ คน คือ นักเรียนเลขที่ ๑,๒,๓,๔ และ ๖ ระดับพอใช้ จำนวน ๒ คน คือ นักเรียนเลขที่ ๕ และ ๗
๑.๘ ขั้นตอนการสะท้อนผล อธิบาย ทำความเข้าใจ พบว่า การจัดกิจกรรม
การเรียนรู้เป็นไปด้วยความราบรื่น ครูผู้สอนมีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี ใช้สื่อเหมาะสม
ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามกิจกรรมที่ครูจัดให้ การพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนได้ผล
น่าพอใจ จากการประเมินผลการปฏิบัติตามขั้นตอนการประเมิน การปฏิบัติด้านพฤติกรรม
การสอนของครู พฤติกรรมนักเรียนและการจัดการเรียนรู้ พบว่า ครูผู้สอนมีการเตรียมการสอน
เป็นอย่างดี ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ มีการใช้สื่อ
ประกอบการสอน ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ฝึกทักษะการอ่านและการเขียน
ด้วยความเต็มใจ นักเรียนให้ความสนใจและร่วมมือในการจัดกิจกรรมดีมาก ครูผู้สอนกับนักเรียน
มีปฏิสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี บรรยากาศในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มีความเป็นกันเอง การพัฒนา
ทักษะการอ่านและการเขียนได้ผลน่าพอใจ พบว่า ในภาพรวมนักเรียนอ่านถูกต้องมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ
๘.๘๖ อยู่ในระดับดี อ่านคล่องแคล่วอยู่ในระดับดีมาก ส่วนการเขียนพบว่า เขียนถูกต้องมีค่าเฉลี่ย
เท่ากับ ๘.๕๗ อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคลพบว่า นักเรียนสามารถอ่านถูกต้องระดับ
ดีมาก จำนวน ๔ คน อ่านถูกต้อง ระดับดี จำนวน ๑ คน และอ่านถูกต้องระดับพอใช้ จำนวน ๒
คน อ่านคล่องแคล่วระดับดีมากจำนวน ๔ คน ระดับดี จำนวน ๓ คน ส่วนการเขียนปรากฏว่า
นักเรียนเขียนถูกต้องระดับดีมากจำนวน ๔ คน เขียนถูกต้องระดับดี จำนวน ๑ คน และเขียน
ถูกต้อง อยู่ในระดับพอใช้ จำนวน ๒ คน นักเรียนเขียนคล่องแคล่วระดับดี จำนวน ๕ คน
และเขียนคล่องแคล่วระดับพอใช้ จำนวน ๒ คน
๑.๙ ขั้นตอนการตัดสินใจ จากการปฏิบัติการตามขั้นตอนสะท้อน อธิบายและ
ทำความเข้าใจ พบว่า นักเรียนมีการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนเพิ่มขึ้นเป็นที่น่าพอใจ ดังนั้น
จึงยุติการปฏิบัติการเพียง ๑ วงรอบเท่านั้น ทั้งนี้เนื่องจากกระบวนการวิจัยปฏิบัติการรูปแบบวงจร
ลำดับเวลามีขั้นตอนการปฏิบัติที่ละเอียดชัดเจน การพัฒนาดำเนินไปตามลำดับอย่างต่อเนื่อง
การประเมินความต้องการ ทำให้ผู้ศึกษารู้สาเหตุของปัญหาอย่างแท้จริงและกำหนดแนวทางการแก้ไข
ปัญหาได้อย่างถูกวิธี ดังนั้นกระบวนการวิจัยปฏิบัติการรูปแบบวงจรลำดับเวลาจึงมีความเหมาะสม
ในการนำมาใช้ในการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนในครั้งนี้
๒. ผลการอ่านและการเขียน จากการใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการรูปแบบวงจรลำดับเวลา
พบว่า
๒.๑ ผลการประเมินทักษะการอ่านปรากฏว่า นักเรียนทุกคนผ่านเกณฑ์การประเมิน
การอ่านของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสามารถอ่านถูกต้องระดับดีมาก
จำนวน ๔ คน อ่านถูกต้อง ระดับดี จำนวน ๑ คน และอ่านถูกต้องระดับพอใช้ จำนวน ๒ คน
อ่านคล่องแคล่วระดับดีมากจำนวน ๔ คน ระดับดี จำนวน ๓ คน
๒.๒ ผลการประเมินทักษะการเขียนปรากฏว่า นักเรียนทุกคนผ่านเกณฑ์ประเมิน
การเขียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ส่วนความสามารถในการเขียนปรากฏว่า นักเรียนสามารถเขียนถูกต้องระดับดีมาก จำนวน ๔ คน เขียนถูกต้องระดับดี จำนวน ๑ คน และเขียนถูกต้อง อยู่ในระดับพอใช้ จำนวน ๒ คน นักเรียนเขียนคล่องแคล่วระดับดี จำนวน ๕ คน
และเขียนคล่องแคล่วระดับพอใช้ จำนวน ๒ คน
๓. ผลการสร้างและหาประสิทธิภาพของหนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ พบว่า
         ๓.๑ การให้คะแนนจากผู้ชำนาญการและผู้เชี่ยวชาญของหนังสือส่งเสริมการอ่าน
และการเขียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ พบว่า หนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียน
เรื่อง รูปสระ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ หนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียน มีค่าเฉลี่ย ๓.๕๕
อยู่ในระดับ ดี ซึ่งตามเกณฑ์ควรมีค่าเฉลี่ย ๒.๕๑ – ๔.๐๐ มีความเหมาะสมทุกประการ
๓.๒ ผลการหาประสิทธิภาพหนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียน ระดับชั้น
ประถมศึกษาปีที่ ๒ พบว่า
๓.๒.๑ หนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียน มีความเหมาะสม
ทุกรายการ โดยมีค่าความสอดคล้อง (IOC) ตามองค์ประกอบต่าง ๆ อยู่ระหว่าง ๐.๘๐ ถึง ๑.๐๐
            ๓.๒.๒ หนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียน ตั้งแต่ เล่มที่ ๑ ถึงเล่มที่ ๑๒
มีค่าแสดงความยากง่าย (p) และค่าจำแนก (r) อยู่ระหว่าง ๐.๓๓ ถึง ๐.๘๓
๓.๓ หนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียน จำนวน ๑๒ เล่ม มีประสิทธิภาพเท่ากับ
E๑ / E๒ = ๘๕.๙๕/๘๘.๕๕ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ที่ตั้งไว้
๓.๔ ดัชนีประสิทธิผลของหนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียน สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านคำนาดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร
เขต ๒ เท่ากับ ๐.๕๗๘๙ คิดเป็นร้อยละ ๕๗.๘๙ แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าคิดเป็นร้อยละ ๕๗.๘๙
๓.๕ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ที่เรียนโดยการใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านและ
การเขียน มีคะแนนเฉลี่ยความสารถในการอ่านและการเขียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^