LASTEST NEWS

03 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ 02 ก.ย. 2567( ไม่มีวุฒิครูก็สมัครได้ ) เครือโรงเรียนมารีวิทย์ ประกาศรับสมัครครู 33 อัตรา ตั้งแต่บัดนี้ - 30 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนห้างฉัตรวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกพลศึกษา เงินเดือน 8,000 บาท ผ่านทดลองงาน 6 เดือน รับ 8,500 บาท สมัคร 2-13 ก.ย.2567 02 ก.ย. 2567โรงเรียนวัดแปลงเกต รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาอังกฤษหรือวิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 15,800.- บาท ตั้งแต่วันที่ 16-20 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567(( รวมลิงก์ )) ประกาศผลการย้ายครู รอบที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 ทุกจังหวัด ทุกเขตพื้นที่ฯ ทั่วประเทศ (ต่อ) 02 ก.ย. 2567สพม.ปราจีนบุรี นครนายก รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 6 อัตรา ตั้งแต่วันที่ 6-12 กันยายน 2567 02 ก.ย. 2567​​​​​​​กรมพลศึกษา เปิดสอบบรรจุเข้ารับราชการ วุฒิปริญญาตรี เงินเดือน 16,500 - 19,120 บาท ตั้งแต่วันที่ 9-17 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม) รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกสังคมศึกษา ตังแต่บัดนี้-4 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนชุมชนบ้านฟ่อนวิทยา รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกทั่วไป เงินเดือน 6,500.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-6 กันยายน 2567 01 ก.ย. 2567โรงเรียนบ้านนาเมือง รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกการศึกษาปฐมวัย เงินเดือน 7,000.- บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 กันยายน 2567

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์

usericon

บทคัดย่อ
    การศึกษาเรื่อง “การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์เรื่องลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้แบบฝึกทักษะ” มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องลำดับและอนุกรม ก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ จำนวน 18 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 681 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เลือกมาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ได้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 1 ห้องเรียน คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/2 จำนวน 34 คน กลุ่มตัวอย่างในการทดลองรายบุคคล เลือกมาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ได้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 จากนั้นนำนักเรียนมาจัดกลุ่มความสามารถทางการเรียนโดยใช้ผลการเรียนเป็นเกณฑ์ ได้แก่ นักเรียนกลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน จากนั้นทำการสุ่มอย่างง่ายเพื่อเลือกนักเรียนมากลุ่มละ 1 คน รวมเป็น 3 คน กลุ่มตัวอย่างในการทดลองกลุ่มย่อย ทำการสุ่มอย่างง่ายเพื่อเลือกนักเรียนจากนักเรียนที่เหลือจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างในการทดลองรายบุคคล มากลุ่มละ 3 คน รวมเป็น 9 คน กลุ่มตัวอย่างในการทดลองภาคสนาม เลือกมาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จากนักเรียนที่เหลือจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างในการทดลองกลุ่มย่อย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย (1) แบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าคุณภาพเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.67–5.00 (2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ มีค่าคุณภาพเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.67–5.00 (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ระหว่าง 0.67–1.00 มีค่าความยากง่าย (p) อยู่ระหว่าง 0.56–0.87 มีค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.13–0.58 และมีค่าความเชื่อมั่น (KR–20) เท่ากับ 0.749 (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามความพึงพอใจ เท่ากับ 0.89 และในการดำเนินการทดลอง ผู้วิจัยได้แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ (1) ผลการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ในการหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ข้อมูลที่ได้รับเป็นทั้งข้อมูลในเชิงปริมาณและข้อมูลในเชิงคุณภาพ ผู้รายงานได้นำเสนอข้อมูลเหล่านี้ตามลำดับขั้นตอนของการหาประสิทธิภาพ ดังต่อไปนี้ ขั้นทดลองรายบุคคล (1 : 1 : 1) ผู้รายงานได้นำแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ที่ผ่านการตรวจจากผู้เชี่ยวชาญไปทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 3 คน ที่ได้สุ่มไว้แล้ว ทำการเรียนจนครบทั้ง 5 แบบฝึก เพื่อตรวจสอบความชัดเจนของตัวอักษร ภาพประกอบ การเชื่อมโยง ความบกพร่องด้านภาษา โดยการซักถามและสังเกตพฤติกรรมการใช้แบบฝึกทักษะ จากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง และนำไปใช้ทดลองกลุ่มย่อยต่อไป ขั้นทดลองกลุ่มย่อย (3 : 3 : 3) ผู้รายงานได้นำแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ที่ผ่านการแก้ไขในขั้นทดลองรายบุคคลมาแล้ว ไปทำการทดลองกับกลุ่มตัวอย่างนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 9 คน ที่ได้สุ่มไว้แล้ว ทำการเรียนจนครบทั้ง 5 แบบฝึก เพื่อตรวจสอบความชัดเจนของตัวอักษร ภาพประกอบ การเชื่อมโยง ความบกพร่องด้านภาษา โดยการซักถามและสังเกตพฤติกรรมการใช้แบบฝึกทักษะ จากนั้นนำมาปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องจนสมบูรณ์ดีแล้วไปใช้ทดลองภาคสนามต่อไป ขั้นทดลองภาคสนาม (1 ห้องเรียน) ผู้รายงานได้นำแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ที่ผ่านการแก้ไขในขั้นทดลองกลุ่มย่อยมาแล้ว ไปทำการทดลองกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 30 คน ที่ได้สุ่มไว้แล้ว ทำการเรียนในแต่ละบทเรียนแล้วทำแบบทดสอบท้ายบทเรียนจนครบ 5 แบบฝึก และบันทึกผลการทำแบบทดสอบท้ายบทเรียนของนักเรียนทุกคนในทุกแบบฝึก จากนั้นเมื่อนักเรียนเรียนครบแล้วให้นักเรียนทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนแล้วนำคะแนนที่นักเรียนทำแบบทดสอบท้ายแบบฝึกไปวิเคราะห์ค่า E1 และนำคะแนนการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนไปวิเคราะห์ค่า E2 ซึ่งแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.60/81.50 เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ (2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องลำดับและอนุกรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนเท่ากับ 10.62 มีคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเท่ากับ 17.97 จากการทดสอบพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องลำดับและอนุกรม นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องลำดับและอนุกรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้ง 10 รายการ และเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยรวมแล้วนักเรียนมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.91 โดยรายการอยากให้มีแบบฝึกทักษะในการเรียนคณิตศาสตร์เสมอมีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 4.97
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^