LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ

การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ

usericon

การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ซีไออาร์ซี


การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ในการวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ซีไออาร์ซี 2) เพื่อสร้างและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยการจัด การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ซีไออาร์ซี ให้มีประสิทธิภาพ (E1/E2) และประสิทธิผล (E.I.) และ 3) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ซีไออาร์ซี ดังนี้ 3.1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3.2) เปรียบเทียบความสามารถการอ่านคิดวิเคราะห์หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 และ 3.3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนและครู โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ครูตัวแทน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 การศึกษา 2559-2560 โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามความคิดเห็นต่อการวิจัย แผนการจัดการเรียนรู้ คู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ ที่ตรวจสอบหาคุณภาพความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) และวิเคราะห์ค่าความยาก (P) ค่าอำนาจจำแนก (r) ค่าความเชื่อมั่น (KR – 20) และค่าความเที่ยง ( ) สถิติที่ใช้ ได้แก่ สถิติพื้นฐาน คือ ค่าร้อยละ (P) ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติที่ทดสอบสมมติฐาน คือ ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) และ ค่าประสิทธิผล (E.I.) ค่า t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า
1. การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ซีไออาร์ซี พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด
2. การสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ซีไออาร์ซี มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 88.48/85.53 และประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.7915
3. ผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ซีไออาร์ซี ดังนี้
3.1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ซีไออาร์ซี หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.2) ความสามารถในการอ่านคิดวิเคราะห์ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถม-ศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ซีไออาร์ซี หลังเรียงสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.3) ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เพื่อส่งเสริมการอ่านคิดวิเคราะห์ โดยการจัด การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค ซีไออาร์ซี ของครูตัวแทนและนักเรียน โดยภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมาก
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^