ารพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้ชุดกิจกรรม อ่
ผู้ศึกษาค้นคว้า นางศรันย์ทิพา ไชยวรรณ ครูวิทยฐานะชำนาญการ
โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ 3) หาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16 จำนวน 3 ห้องเรียน รวมจำนวนนักเรียน 149 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าเป็นนักเรียน โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัยสมบูรณ์กุลกันยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 16 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/13 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน มีจำนวนนักเรียน 49 คนได้จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ จำนวน 8 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางเรียนก่อนเรียน และหลังเรียน ชนิดตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ แบบสอบย่อยหลังเรียนชุดกิจกรรมการเรียนรู้แต่ละชุด ชนิดเลือกตอบ จำนวน 8 ชุด รวม 80 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ จำนวน 10 รายการ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสถิติทดสอบ (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ 82.35/80.82 ค่าดัชนีประสิทธิผลของความก้าวหน้ามีค่าเท่ากับ 0.7265 หรือคิดเป็นร้อยละ 72.65 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องแรงและการเคลื่อนที่ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ อยู่ในระดับมาก ( X = 4.53 , S.D. =0.55 )