การจัดกิจกรรมปฏิบัติการทดลองจากสีธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะ
กัลยาณี ชำนาญไพร. (2560.) การจัดกิจกรรมปฏิบัติการทดลองจากสีธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ โรงเรียนบ้านแก่งหินปูน อำเภอวิเชียรบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3
การจัดกิจกรรมปฏิบัติการทดลองจากสีธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแก่งหินปูน โดยใช้กิจกรรมปฏิบัติการทดลองจากสีธรรมชาติการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านบ้านแก่งหินปูน ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจรรมปฏิบัติการทดลองจากสีธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 ที่มีต่อการจัดกิจรรมปฏิบัติการทดลองจากสีธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Research) ซึ่งผู้วิจัยได้ใช้แบบแผนการทดลองกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังทดลอง (One – Group Pretest – Posttest Design) กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้คือ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแก่งหินปูน อำเภอวิเชียรบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 16 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) กิจกรรมปฏิบัติการทดลองจากสีธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 60 กิจกรรม 2) แผนการจัดประสบการณ์จรรมปฏิบัติการทดลองจากสีธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 12 สัปดาห์ ทั้งหมด 60 แผน 3) แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 20 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test แบบ (Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า
1) เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแก่งหินปูน อำเภอวิเชียรบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หลังการจัดกิจกรรมโดยใช้กิจกรรมปฏิบัติการทดลองจากสีธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม
2) เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านแก่งหินปูน อำเภอวิเชียรบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 มีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์หลังการจัดกิจกรรมโดยใช้กิจกรรมปฏิบัติการทดลองจากสีธรรมชาติเพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมโดยแบ่งเป็นรายด้าน ได้แก่ การสังเกตในภาพรวมอยู่ระดับดีมาก (x ̅=17.88) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการสังเกต(x ̅=4.81) ด้านการจำแนก(x ̅=4.44) การวัด(x ̅=4.38) และด้านการสื่อความหมายข้อมูล(x ̅=4.38) อยู่ในระดับดีมาก เมื่อเปรียบเทียบระดับทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยทั้งภาพรวมและรายด้านมีค่าสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรม