สอน เรื่องรายงานการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วย
2 มิติ ด้วยโปรแกรม Flash cs6 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้รายงาน นางสุรันต์ อินทะปัญโญ
หน่วยงาน โรงเรียนตรอนตรีสินธุ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39
ปีที่รายงาน 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์
ช่วยสอน เรื่อง การสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่น 2 มิติ ด้วยโปรแกรม Flash cs6 กลุ่มสาระการเรียนรู้
การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียน
ที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนตรอนตรีสินธุ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 จำนวน 70 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนตรอนตรีสินธุ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 จำนวน 26 คน ได้มาโดย
การกำหนดแบบเฉพาะเจาะจง (Specific Purpose Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่น 2 มิติ ด้วยโปรแกรม Flash cs6 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ และแบบประเมินวัดความพึงพอใจของผู้เรียน การวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าสถิติ
t-test
ผลการศึกษาพบว่า
1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่น 2 มิติ ด้วยโปรแกรม
Flash cs6 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.04/83.08 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
2. นักเรียนที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่น
2 มิติ ด้วยโปรแกรม Flash cs6 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การสร้างการ์ตูนแอนิเมชั่น 2 มิติ ด้วยโปรแกรม Flash cs6 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด