รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ ชั้น ป.3
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ผู้รายงาน นางอาลิเจ ก้อนคำ
หน่วยงาน โรงเรียนบ้านส้าน อำเภอเมืองนาน้อย จังหวัดน่าน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
รายงานการพัฒนาพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3 เพื่อศึกษาความพึงพอของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านส้าน อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาน่าน เขต 1 จำนวน 4 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง
เครื่องมือประกอบด้วยแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 12 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านและการเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นแบบประมาณค่า (Rating Scales) 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.35/86.88 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ การอ่านและการเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.82