LASTEST NEWS

28 พ.ย. 2567วิทยาลัยสารพัดช่างตราด รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 19 - 27 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567วิทยาลัยเทคนิคเลย รับสมัครพนักงานราชการครู จำนวน 1 อัตรา ตั้งแต่ 6 - 16 ธันวาคม 2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน รับสมัครครูอัตราจ้าง เงินเดือน 15,000.-บาท ตั้งแต่วันที่ 27 พ.ย. - 1 ธ.ค.2567 28 พ.ย. 2567โรงเรียนภูเวียงวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง 2 อัตรา เงินเดือน 10,500 บาท ตั้งแต่วันที่ 2-4 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567สพฐ.มีหนังสือ ด่วนที่สุด! ให้นำแนวทาง PISA มาใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และการสรรหาบุคลากร ทุกตำแหน่ง 27 พ.ย. 2567บอร์ดก.ค.ศ.เคาะร่างแนวปฏิบัติการย้ายครู ผ่านระบบ TRS เตรียมเปิดใช้งาน มกราคม 2568 27 พ.ย. 2567โรงเรียนแคมป์สนวิทยาคม รับสมัครครูอัตราจ้าง วิชาเอกภาษาจีน เงินเดือน 12,000.-บาท ตั้งแต่บัดนี้ - 1 ธันวาคม 2567 27 พ.ย. 2567ด่วนที่สุด!! ที่ ศธ 04009/ว7543 เรื่อง การจ้างผู้ปฏิบัติงานให้ราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 27 พ.ย. 2567สพฐ. กำชับเขตพื้นที่เร่งคลายทุกข์ลูกจ้าง เดินหน้าพาเด็กกลับเข้าระบบการศึกษา พร้อมจัดงบประมาณแนวใหม่ตอบโจทย์นโยบาย “เรียนดี มีความสุข” 26 พ.ย. 2567สพฐ. เข้ม สั่งครูล่วงละเมิดนักเรียนออกจากราชการทันที ย้ำดูแลสภาพจิตใจเด็กเป็นสำคัญ

การพัฒนาการจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

usericon

การพัฒนาการจัดการเรียนรู้สาระเศรษฐศาสตร์โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับ
การใช้คำถามเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

The Development of Learning Management in Economic Strands of Mathayomsuksa 4 through Problem-based Learning with Questioning Technique to Enhance Analytical Thinking and Learning Achievements.

เชษฐา กลิ่นเทศ
Chetta Kinthed
ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40
E-mail : Kruchet@hotmail.com โทร 09-3131-3615

บทคัดย่อ

        การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนเรียนและหลังเรียนที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้คำถาม 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้คำถาม 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้คำถาม สาระเศรษฐศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้องเรียน โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยการจับฉลากหมายเลขห้อง ได้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 เป็นกลุ่มทดลอง จำนวนนักเรียน รวม 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้คำถาม สาระเศรษฐศาสตร์ 2) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t – test) แบบ Dependent
        ผลการวิจัยสรุปได้ว่า
        1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้คำถาม มีการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
        2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้คำถาม มีความก้าวหน้าทาง
การเรียนสูงขึ้น
        3. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการใช้คำถาม สาระเศรษฐศาสตร์
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความคิดเห็นในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย ( X̄ = 4.27 )

ABSTRACT

        The purposes of this research were ; (1) To compare the Analytical Thinking and learning
achievements of the students in Mathayomsuksa 4 before and after learning through Problem-based
learning with Questioning Technique; (2) To study of Effectiveness index of learning Economic Strands
through Problem-based learning with Questioning Technique; (3) To study attitudes of students in
Mathayomsuksa 4 toward learning Economic Strands through Problem-based learning with Questioning
Technique.
        The participants in the current study were randomly selected from one out of six classes of Mathayomsuksa 4 students in academic year 2017. The selected participants were from class 4/3 which consisted of 45 students. Research instruments were; (1) Lesson plans of development of analytical thinking through Problem-based learning with Questioning Technique; (2) A test of Analytical Thinking and learning achievements; (3) The attitudes of students toward learning Economic Strands through Problem-based learning with Questioning Technique. The research was analyzed by statistics, mean, standard deviation and t-test for dependent Samples.
       Research findings showed that; (1) analytical thinking and learning achievements of the
students in Mathayomsuksa 4 who learnt Economic Strands through Problem-based learning with Questioning Technique were statistically higher than previous at a level of .05; (2) The effectiveness
index scores of the students in Mathayomsuksa 4 who learnt Economic Strands through Problem-based learning with Questioning Technique was higher. (3) The students had positive attitudes Economic Strands through Problem-based learning with Questioning Technique at a high level.


ดาวน์โหลดเอกสารทั้งฉบับ คลิกที่นี่
kruwandee 09 พ.ค. 2561 เวลา 09:21 น. 0 794
ร่วมแสดงความคิดเห็น
เงื่อนไข การร่วมแสดงความคิดเห็น!

ข้อความที่ท่านได้อ่าน เกิดจากการเขียนโดยสาธารณชน และส่งขึ้นมาแบบอัตโนมัติ เจ้าของเว็บไซต์ไม่รับผิดชอบต่อข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือ ชื่อผู้เขียนที่ได้เห็นคือชื่อจริง ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และถ้าท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือเป็นการกลั่นแกล้งเพื่อให้เกิดความเสียหาย ต่อบุคคล หรือหน่วยงานใด กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม เพื่อให้ผู้ควบคุมระบบทราบและทำการลบข้อความนั้น ออกจากระบบต่อไป

ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้

^