การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD
ที่ส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
The Development of Learning Achievement of Geography Strands Through Employing Learning Packages of STAD Cooperative Learning Technique in Mathayomsuksa 4.
เชษฐา กลิ่นเทศ
Chetta Kinthed
ครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบึงสามพันวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 40
E-mail : Kruchet@hotmail.com โทร 09-3131-3615
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สาระภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียน หลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD 3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD 4) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย ( Simple Random Sampling ) ด้วยการจับฉลากหมายเลขห้อง ได้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 เป็นกลุ่มทดลอง จำนวนนักเรียน รวม 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สาระภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบประเมินพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD 5) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t – test) แบบ Dependent
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สาระภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80 / 80
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สาระภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สาระภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม อยู่ในระดับ ดีมาก ( x̄ = 2.43 )
4. นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สาระภูมิศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มีความคิดเห็น ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย ( x̄ = 4.14 )
ABSTRACT
The purposes of this research were ; (1) To develop learning achievement through learning packages of STAD Cooperative Learning Technique to reach the efficiency of standard criterion at 80/80; (2) To compare the achievements of students in Mathayomsuksa 4 before and after learning Geography Strands through learning packages of STAD Cooperative Learning Technique; (3)To study students’ cooperative behaviour in group activities as learning packages of STAD Cooperative Learning Technique; (4) To study the attitudes of students toward learning Geography Strands through learning packages of STAD Cooperative Learning Technique.
The participants in the current study were randomly selected from one out of six classes of
Mathayomsuksa 4 students in academic year 2017. The selected participants were from class 4/1 which consisted of 36 students. Research instruments were; (1) The learning packages of STAD Cooperative Learning Technique; (2) Lesson plans of development of learning achievement through employing learning packages of STAD Cooperative Learning Technique; (3) A test of learning achievements; (4) An evaluation form of students’ cooperative behaviour in group activities in learning Geography Strands through learning packages of STAD Cooperative Learning Technique; (5) The attitudes of 4/1 students toward learning Geography Strands through learning packages of STAD Cooperative Learning Technique. The research was analyzed by statistics, mean, standard deviation and t-test.
Research findings showed that; (1) The learning packages of STAD Cooperative Learning Technique reached the efficiency of standard criterion at 80/80; (2) Mathayomsuksa 4/1 students who learnt Geography Strands through learning packages of STAD Cooperative Learning Technique had significantly higher achievement scores than previous at a statistical level of .05; (3)To study students’ cooperative behaviour in group activities as learning packages of STAD Cooperative Learning Technique; (4) The attitudes of 4/1 students toward learning Geography Strands through learning packages of STAD Cooperative Learning Technique were at a moderate level (x̄= 4.14)
ดาวน์โหลดเอกสารทั้งฉบับ คลิกที่นี่