การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ก้าวทัน ASEAN
โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ชื่อผู้ศึกษา นางจันสุดา บุตรมาตย์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ โรงเรียนเชียงคาน อำเภอเชียงคาน
จังหวัดเลย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19
ปีที่ศึกษา พ.ศ. 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ก้าวทัน ASEAN โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนเชียงคาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ก้าวทัน ASEAN โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนเชียงคาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 มีค่าตามเกณฑ์ที่กำหนด 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียน ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ก้าวทัน ASEAN โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนเชียงคาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนต่อ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ก้าวทัน ASEAN โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ โรงเรียนเชียงคาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเชียงคาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 จำนวน 45 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ก้าวทัน ASEAN โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD มีค่าความเที่ยงตรงระหว่าง 0.80 ถึง 1.00 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนกับหลังเรียนเป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ มีค่าความยากระหว่าง 0.20 ถึง 0.80 ค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20 ถึง 0.69 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนมีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.20 ถึง 0.66 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความเที่ยงตรง ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบค่าที (t – test แบบ Dependent samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1.ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ก้าวทัน ASEAN โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD มีค่าเท่ากับ 86.56/83.48
2. ดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ก้าวทัน ASEAN โดยใช้เทคนิค การเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้เทคนิค STAD มีค่าเท่ากับ 0.7815
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ก้าวทัน ASEAN โดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD มีค่าเท่ากับหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ก้าวทัน ASEAN โดยใช้เทคนิค การเรียนรู้แบบร่วมมือกันเรียนรู้ เทคนิค STAD โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก