รายงานการใช้แบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ( ค22101)
ปีที่ 2 เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ
ผู้ศึกษา นางลำพูน หล้าพันธ์
สถานศึกษา โรงเรียนเชียงคาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19
ปีที่พิมพ์ 2561
บทคัดย่อ
รายงานการใช้แบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน (ค22101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน (ค22101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75) 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน (ค22101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน (ค22101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องอัตราส่วนและร้อยละ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/4 โรงเรียนเชียงคาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้สร้างขึ้นเอง ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ จำนวน 30 ข้อ และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน(ค22101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการคำนวณค่าที(t-test)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน (ค22101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละที่พัฒนาขึ้นมีค่าเท่ากับ 76.26 /78.10 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ที่ 75/75
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน (ค22101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งตรงกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน (ค22101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านเจตคติต่อการเรียนรู้ มีระดับความพึงพอใจสูงสุด รองลงมาคือ ด้านความรู้ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านทักษะกระบวนการ