การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิ
เรื่องดนตรีน่ารู้ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ผู้วิจัย นายถนัด สมาธิกุล
สถานศึกษา โรงเรียนบ้านกระเทียม (ราษฎร์วิทยาคม)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์เขต 3
ปีที่วิจัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค STAD
เรื่องดนตรีน่ารู้ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องดนตรีน่ารู้ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องดนตรีน่ารู้ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น
3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องดนตรีน่ารู้ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค STAD
เรื่องดนตรีน่ารู้ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านกระเทียม (ราษฎร์วิทยาคม)
ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3 จำนวน 34 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selected) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
มี 2 ชนิด ได้แก่ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องดนตรีน่ารู้ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องดนตรีน่ารู้ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องดนตรีน่ารู้ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งมีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.23 - 0.78 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.25 - 0.86 และมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบเท่ากับ 0.85 และแบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องดนตรีน่ารู้ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.22 – 0.82 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้สถิติ Nonparametric แบบ Wilcoxon Matched -Pairs Signed-Ranks Test
ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
1. เอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องดนตรีน่ารู้ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพ 84.32/82.64 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. เอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องดนตรีน่ารู้ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.65 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน คิดเป็นร้อยละ 65
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องดนตรีน่ารู้ สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังจากเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนด้วยเอกสารประกอบการเรียนโดยใช้เทคนิค STAD เรื่องดนตรีน่ารู้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.48,
S.D. = 0.60) ด้านที่มีความพึงพอใจมากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ ด้านที่ 2 การเรียนด้วยเอกสารประกอบ การเรียนทำให้นักเรียนเข้าใจมากยิ่งขึ้นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.72,S.D.= 0.54) รองลงมาคือ ด้านที่ 1 นักเรียนรู้สึกสนุกสนาน มีความสุขกับกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.65, S.D. = 0.48) รองลงมาคือ ด้านที่ 13 นักเรียนมีความสามัคคีและช่วยเหลือกัน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.61, S.D. = 0.61) และด้านที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุดคือ ด้านที่ 8 กิจกรรมในเอกสารประกอบการเรียน เหมาะสมกับเวลา อยู่ในระดับมาก ( = 4.15, S.D. = 0.60)