การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความตามขั้นตอน SQ4R จากบทความ
ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความตามขั้นตอน SQ4R จากบทความ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้ศึกษา นางพจนาถ วุฒิวงศ์ ตำแหน่ง ครู โรงเรียนอนุบาลตรัง
ปีที่ศึกษา ปีการศึกษา 2560
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ การอ่านจับใจความตามขั้นตอน SQ4R จากบทความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างก่อนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความตามขั้นตอน SQ4R จากบทความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความตามขั้นตอน SQ4R จากบทความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความตามขั้นตอน SQ4R จากบทความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้แบบฝึกทักษะ การอ่านจับใจความตามขั้นตอน SQ4R จากบทความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4) แบบสอบถามความ พึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน จับใจความตามขั้นตอน SQ4R จากบทความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ประชากรกลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลตรัง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 22 คน 1 ห้องเรียน ทำการทดสอบก่อนเรียนโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแล้วดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดเรียนรู้ซึ่งใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความตามขั้นตอน SQ4R จากบทความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 6 เล่ม เวลา 20 ชั่วโมง แล้วทำการทดสอบหลังเรียนโดยใช้แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากนั้นศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ตามขั้นตอน SQ4R จากบทความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบที (t-test) ผลการศึกษาพบว่า
1) แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความตามขั้นตอน SQ4R จากบทความ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.34 / 81.82
2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความตามขั้นตอน SQ4R จากบทความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ ตามขั้นตอน SQ4R จากบทความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 อยู่ในระดับมากที่สุด