การพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้ศึกษา เสน่ห์ หัดไทยทระ
สถานที่ศึกษา โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 3) หาดัชนีประสิทธิผลจากการพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านกรวดวิทยาคาร อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 จำนวน 38 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)
โดยวิธีการจับฉลาก ดำเนินการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้เวลาในการทดลอง 18 ชั่วโมง ไม่รวมสอบก่อนเรียนและหลังเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 5 เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบทดสอบอิงเกณฑ์ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนก ตั้งแต่ 0.41-0.88 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.8963 และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น รายวิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค33101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 ข้อ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) ซึ่งกำหนดเกณฑ์ความพึงพอใจเป็น 5 ระดับ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และการทดสอบสมมติฐานการศึกษา โดยใช้ค่า (One Sample t-test) และ ค่า (Dependent Sample t-test)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.53/85.96 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
2. ผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
3. แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเฉลี่ยเท่ากับ 0.7413 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยรวมในระดับมากที่สุดมีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.56 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน( ) เท่ากับ 0.31