รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการม
รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านจำบอน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง และใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงกับการมองเห็น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านจำบอน ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงกับการมองเห็น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนบ้านจำบอน เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนบ้านจำบอน ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนบ้านจำบอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น จำนวน 7 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 18 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แสงและการมองเห็น เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจ เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการศึกษาปรากฏดังนี้
1. การหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็นที่ สร้างขึ้นผลปรากฏว่า ชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น ทั้ง 7 ชุด นักเรียนทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียนได้ถูกต้องโดยเฉลี่ยร้อยละ 84.01 และค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังการทำแบบทดสอบหลังเรียนโดยเฉลี่ยร้อยละ 87.65 แสดงว่าชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงและการมองเห็น ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 84.01/87.65 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ที่ตั้งไว้คือ ร้อยละ 80/80 เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1 ที่ผู้ศึกษากำหนดไว้
2. ผลการศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แสงกับการมองเห็น ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หลังการเรียนโดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนโดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยนักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 16.07 คิดเป็นร้อยละ 53.57 และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน 25.00 คิดเป็นร้อยละ 83.33 จากคะแนนเต็ม 30 โดยมีคะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 29.76 เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2 ที่ผู้ศึกษากำหนดไว้
3. ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อชุดกิจกรรม การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสงกับการมองเห็น กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ พบว่า โดยภาพรวม ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก (μ = 4.62,σ = 0.28) เป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 3 ที่ผู้ศึกษากำหนดไว้