การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษ ร่วมกับก
กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองได้แก่ หนังสืออ่านเพิ่มเติมฯ จำนวน 6 เล่ม แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็น
การทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการทดลอง 6 สัปดาห์ๆ ละ 3 คาบเรียนๆ ละ 45 นาที คาบปฐมนิเทศ และคาบปัจฉิมนิเทศ 2 คาบเรียน รวมทั้งสิ้น 20 คาบเรียน ผู้ศึกษาให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ เมื่อเรียนจบในแต่ละเล่ม ให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบท้ายเล่ม และตอบแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติมฯ หลังจากที่เรียนจากหนังสืออ่านเพิ่มเติมฯ ครบทั้ง 6 เล่ม ผู้ศึกษาให้กลุ่มตัวอย่างทำแบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นแบบทดสอบฉบับเดียวกับแบบทดสอบก่อนเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test แบบจับคู่ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษก่อนและหลังเรียนจากหนังสืออ่านเพิ่มเติมฯ ใช้ค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและ ค่าร้อยละ เพื่อหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติมฯ ใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติมฯ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติมฯ มีค่าเท่ากับ 84.75/83.25 ซึ่งถือว่าหนังสืออ่านเพิ่มเติมฯ มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับดีมาก
2. ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนหลังการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมฯ สูงกว่าก่อนการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมฯ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
3. กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติมฯ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นอยู่ในระดับดีมาก