พระพุทธศาสนา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้ศึกษา นางสาวพฤษสดี ธุระพัฒน์
ปีที่ศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายของการศึกษา 1) เพื่อสร้างและพัฒนาเอกสารประกอบการเรียน ชุดพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ที่กำหนด 80 / 80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุดพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ เอกสารประกอบการเรียน ชุดพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ประชากร คือ นักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดตาหลวงคงสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 15 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วยเอกสารประกอบการเรียน ชุดพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้ศึกษาได้สร้างและพัฒนาขึ้นเอง ประกอบด้วยเนื้อหาสาระจำนวน 7 เล่ม แผนการจัดการเรียนรู้ประกอบการเรียน โดยใช้เอกสารประกอบการเรียน รายชั่วโมง จำนวน 21 แผน ใช้เวลาเรียน 21 ชั่วโมง แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนแต่ละเล่ม มีลักษณะเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก เล่มละ 10 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุดพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 ข้อ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า :
1. ประสิทธิภาพของเอกสารประกอบการเรียน ชุดพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาพรวมมีค่าเท่ากับ 88.88/85.73 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุดพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า โดยภาพรวมหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 35.73 เฉลี่ยร้อยละ 51.04 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 1.53 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 60.67 เฉลี่ยร้อยละ 86.67 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.72)
3. ความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนโดยใช้เอกสารประกอบการเรียน ชุดพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.68)