เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
ผู้ประเมิน นายฮัมดาน เบ็ญญโซฟ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านตันหยงกลิง
ปีประเมิน 2560
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ตามรอยพระราชดำริ โรงเรียน
บ้านตันหยงกลิงครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความต้องการ ความจำเป็น ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ และความชัดเจนของเป้าหมายของโครงการ ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการ เกี่ยวกับความพร้อมของสถานศึกษา ความเหมาะสมของงบประมาณ และความเหมาะสมของกิจกรรมของโครงการ ประเมินกระบวนการการดำเนินโครงการ เกี่ยวกับกระบวนการวางแผน การดำเนินการ การนิเทศติดตามและประเมินผลของโครงการ ประเมินผลผลิตของโครงการ เกี่ยวกับความพึงพอใจของครู นักเรียน และผู้ปกครอง เกี่ยวกับคุณภาพนักเรียนทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ และคุณธรรม 4 ประการ การปฏิบัติกิจกรรมด้านวัตถุ/เศรษฐกิจ การปฏิบัติตนในการดำเนินชีวิตได้อย่างสมดุลและพร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมวัฒนธรรมและความพึงพอใจเกี่ยวกับผลผลิตที่ได้จากการดำเนินโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ตามรอยพระราชดำริ โรงเรียนบ้านตันหยงกลิง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ มีจำนวนทั้งสิ้น 100 คน ประกอบด้วย นักเรียน จำนวน 35 คน เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ครู จำนวน 10 คน และผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 55 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 4 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows ผลการประเมิน สรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน โดยภาพรวมพบว่า ผลการประเมินของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ตามรอยพระราชดำริ โรงเรียนบ้านตันหยงกลิง ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมด คือ
1. การประเมินบริบทของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ตามรอยพระราชดำริ โรงเรียนบ้านตันหยงกลิง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
2. การประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ตามรอยพระราชดำริ โรงเรียนบ้านตันหยงกลิง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
3. การประเมินกระบวนการของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ตามรอยพระราชดำริ โรงเรียนบ้านตันหยงกลิง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
4. การประเมินผลผลิตของโครงการเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษา ตามรอยพระราชดำริ โรงเรียนบ้านตันหยงกลิง มีความเหมาะสมอยู่ในระดับม