รายงานการใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองยางไคล
ชื่อผู้ศึกษา นางสุชาดา ศรีติ๊บ
ชื่อหน่วยงาน โรงเรียนบ้านหนองยางไคล
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1
ปีที่ศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง และหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองยางไคล ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเขียนเชิงสร้างสรรค์ก่อนเรียนและ หลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองยางไคล เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อชุดฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนบ้านหนองยางไคล
ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนบ้านหนองยางไคล สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วยชุดฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ จำนวน 5 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 20 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเขียนเชิงสร้างสรรค์ แบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าร้อยละ
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการหาประสิทธิภาพของการใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 ชุด มีประสิทธิภาพโดยรวมคำนวณ ได้ค่า E1 / E2 เท่ากับ 85.80 / 87.41 สูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า คะแนนทดสอบก่อนใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 12.22 คิดเป็นร้อยละ 40.74 คะแนนหลังใช้ชุดฝึกทักษะ การเขียนเชิงสร้างสรรค์ นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ย 26.22 คิดเป็นร้อยละ 87.41 ผลต่างของคะแนนเฉลี่ยและคิดเป็นร้อยละของการทดสอบหลังใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์กับก่อนใช้ชุดฝึกทักษะ การเขียนเชิงสร้างสรรค์ เท่ากับ 14.00 และ 46.64 และเมื่อนำมาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียน แสดงให้เห็นว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์สูงกว่าก่อนใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยมีคะแนนเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 14.00 คิดเป็นร้อยละ 46.64 เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3. ผลการวิเคราะห์แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ชุดฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.59) เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้