การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD
ชื่อผู้ศึกษา นางอรวรินทร์ อภิวิมลลักษณ์
หน่วยงาน โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20
ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว
3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนประจักษ์ศิลปาคาร อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 39 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี 4 ชนิด ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD จำนวน 15 แผน ใช้เวลาสอน แผนละ 1 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ซึ่งเป็นแบบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ โดยมีค่าความยากตั้งแต่ 0.45 ถึง 0.68 และค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.30 ถึง 0.60 และมีค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 3) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว จำนวน 8 เล่ม และ 4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบมาตรการประมาณค่า (Rating scale) ชนิด 5 ระดับ จำนวน 12 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนก รายข้อตั้งแต่ 0.35 ถึง 0.64 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Sample)
ผลการศึกษาปรากฏดังนี้
1. การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.78/82.14
2. การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7517 หรือคิดเป็นร้อยละ 75.17 แสดงว่าการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ที่ผู้ศึกษาได้พัฒนาขึ้นทำให้นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนโดยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น 0.7517 หรือคิดเป็นร้อยละ 75.17
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ผู้ศึกษาได้พัฒนาขึ้น โดยภาพรวมความพึงพอใจทุกด้านอยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.67
โดยสรุป การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค STAD โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ทำให้ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากเรียน รวมทั้งผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก จึงเหมาะที่ครูผู้สอน ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการด้านต่างๆ ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และประสบผลสำเร็จในการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ