รายงานผลการใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องเวกเตอร์ในสามมิติ
โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E)
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้ศึกษา นางสาวสิริญา วงเวียน
หน่วยงานที่สังกัด โรงเรียนพลับพลาชัยพิทยาคม อำเภอพลับพลาชัย
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 32
ปีที่พิมพ์ 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องเวกเตอร์ในสามมิติ โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องเวกเตอร์ในสามมิติ โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (3) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องเวกเตอร์ในสามมิติ โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องเวกเตอร์ในสามมิติ โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1 โรงเรียนพลับพลาชัยพิทยาคม อำเภอพลับพลาชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 30 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้
ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องเวกเตอร์ในสามมิติ วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีทั้งหมด 8 ชุด (2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องเวกเตอร์ในสามมิติ วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 8 แผน รวม 14 ชั่วโมง (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องเวกเตอร์ในสามมิติ วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 4 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ (4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องเวกเตอร์ในสามมิติ วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม 4 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t – test (Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เวกเตอร์ในสามมิติโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.13/82.56 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เวกเตอร์ในสามมิติ โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง เวกเตอร์ในสามมิติ โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.7221 แสดงว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.21
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์
เรื่อง เวกเตอร์ในสามมิติโดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด